คลังบทความของบล็อก

1 พฤศจิกายน 2561

ประวัติศาสตร์สงครามเวียดนาม ฉบับย่อ

สงครามเวียดนาม 





สงครามอินโดจีนครั้งที่สองในช่วง พ.ศ. 2497-2518 เกิดจากความขัดแย้งอย่างยาวนานระหว่างฝรั่งเศสและเวียดนาม ในเดือนกรกฏาคม พ.ศ.2497 ภายหลังหนึ่งร้อยปีของการปกครองแบบอาณานิคม ฝรั่งเศสถูกพลักดันให้ออกจากเวียดนาม กองกำลังของคอมมิวนิสต์นำโดยนายพลหวอ เงวียน ย๊าป   ได้เอาชนะกองทัพพันธมิตรนำโดยฝรั่งเศสที่เดียน เบียน ฟู ซึ่งเป็นพื้นที่เชิงเขาแถบชนบททางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม  สมรภูมิอันชี้ขาดในครั้งนี้ได้ทำให้ฝรั่งเศสเชื่อว่าพวกเขาไม่สามารถคงความเป็นเจ้าอาณานิคมเหนืออินโดจีนได้อีกต่อไป และปารีสก็เร่งรีบขอประกาศสงบศึก  ขณะที่ทั้งสองฝ่ายมาประชุมเพื่อเจรจาสันติภาพที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ เหตุการณ์ทั้งหลายก่อนหน้านี้ก็ได้กำหนดอนาคตของอินโดจีนไว้แล้ว


สนธิสัญญาสันติภาพเจนีวา (Geneva Accord)

สนธิสัญญาสันติภาพเจนีวา ที่ลงนามโดยฝรั่งเศสและเวียดนามในฤดูร้อน พ.ศ. 2497 แสดงให้เห็นถึงความตึงเครียดของสงครามเย็นที่แพร่ไปทั่วโลก มันถูกดำเนินการใต้เงามืดของสงครามเกาหลีที่เพิ่งจบสิ้นไปหมาด ๆ และยังเป็นสันติภาพที่น่ากระอักกระอ่วนใจสำหรับทั้งสองฝ่าย ด้วยแรงกดดันจากภายนอกคือสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชน ตัวแทนของเวียดนามได้เห็นด้วยกับการการแบ่งประเทศออกเป็นสองส่วนชั่วคราวบนเส้นแวงที่สิบเจ็ด พวกมหาอำนาจคอมมิวนิสต์กลัวว่าความไม่แน่นอนของสันติภาพจะทำให้ฝรั่งเศสและพันธมิตรที่เป็นมหาอำนาจคือสหรัฐฯ โกรธแค้น มอสโคว์และปักกิ่งไม่ต้องการที่จะเสี่ยงการเผชิญหน้ากับตะวันตกกระชั้นเกินไปหลังจากสงครามเกาหลี นอกจากนี้พวกคอมมิวนิสต์ยังเชื่อว่าพวกตนนั้นมีการจัดการองค์กรที่ดีกว่าในการเข้ายึดเวียดนามใต้ด้วยวิถีทางการเมืองเพียงอย่างเดียว


ตามมติของสนธิสัญญาเจนีวานั้น เวียดนามจะต้องมีการเลือกตั้งในพ.ศ. 2499 เพื่อรวมประเทศเป็นหนึ่ง การแบ่งประเทศบนเส้นแวงที่สิบเจ็ดนั้นจะหายไปกับการเลือกตั้ง สหรัฐฯและกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์จำนวนมากไม่ได้สนับสนุนสนธิสัญญานี้ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศคือนาย จอห์น ฟอสเตอร์ ดัลลัสคิดว่าข้อตกลงทางการเมืองของ สัญญาฉบับนี้ให้อำนาจแก่พวกเวียดนามคอมมิวนิสต์มากเกินไป เขาจะไม่ยอมให้พวกคอมมิวนิสต์เข้ายึดเวียดนามใต้โดยปราศจากการสู้รบ  ดังนั้นเขาและประธานาธิบดี ดไวท์ ดี ไอเซนเฮาร์ ก็สนับสนุนกลุ่มในเวียดนามที่อยู่บนใต้เส้นแวงที่สิบเจ็ดในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ สหรัฐฯได้ส่งเสริมความพยายามครั้งนี้โดยการสร้างชาติเวียดนามใต้ผ่านข้อตกลงระหว่างชาติหลายฉบับอันก่อให้เกิดสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ซีโต้ (SEATO-South East Asia Treaty Organization)



เวียดนามเหนือภายใต้การปกครองของ โง ดินห์ เดียม

สนธิสัญญาซีโต้ได้เสนอให้กลุ่มประเทศที่ลงนามมีการปกป้องซึ่งกันและกันทางทหารรวมไปถึงรัฐบาลของสาธารณรัฐเวียดนาม (จีวีเอ็น)หรือเวียดนามใต้ ใน พ.ศ. 2499 โง ดินห์ เดียม นักต่อต้านคอมมิวนิสต์ตัวยงได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งที่อื้อฉาวและได้เป็นประธานาธิบดีแห่งเวียดนามใต้ ในวันแรกที่มานั่งเก้าอี้เขาก็พบกับการต่อต้านจากฝ่ายตรงกันข้าม เขาได้เรียกร้องให้สหรัฐฯ ช่วยเหลือวิธีการต้านคอมมิวนิสต์ของตน โดยอ้างว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (ดีอาร์วี)หรือเวียดนามเหนือ ต้องการที่จะยึดเวียดนามใต้โดยกำลังทางทหาร ในช่วงปลาย พ.ศ. 2500 จากการช่วยเหลือของสหรัฐฯ  เดียมก็โต้ตอบกลับโดยได้รับการสนับสนุนจากซีไอเอในการระบุว่าใครพยายามที่จะโค่นล้มรัฐบาลของตนและทำการจำกุมปรปักษ์หลายพันคนในปี  เดียมก็ได้ออกกฏหมายที่ชื่อว่า "กฏหมาย 10/59"ซึ่งอนุญาตให้ทางการสามารถจับประชาชนขังคุกได้หากถูกสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์โดยไม่ต้องมีการตั้งข้อกล่าวหาอย่างเป็นทางการ



นับตั้งแต่เขาขึ้นมามีอำนาจ เดียม ก็พบกับความลำบากแบบเลือดตาแทบกระเด็น นักเรียน ปัญญาชน ชาวพุทธและกลุ่มอื่นๆ ต่างเข้าร่วมกับพวกคอมมิวนิสต์ในการต่อต้านการปกครองของเดียม  ยิ่งคนกลุ่มนั้นเข้าโจมตีกองทหารและตำรวจลับของเดียมมากเท่าไร เขาก็ยิ่งพยายามควบคุมกลุ่มประท้วงมากเท่านั้น ประธานาธิบดีผู้นี้ยืนยันว่าเวียดนามใต้คือประเทศประชาธิปไตยที่รักสันติภาพและคอมมิวนิสต์นั้นต้องการจะทำลายประเทศใหม่ของเขา

รัฐบาลของเคนนาดี้ดูเหมือนจะแตกแยกทางความคิดกันว่ารัฐบาลของเดียมนั้นแท้ที่จริงเป็นประเทศประชาธิปไตยและรักสันติภาพหรือไม่ ที่ปรึกษาของเคนนาดี้หลายคนเชื่อว่า เดียมนั้นไม่ได้ทำการปฏิรูปทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างเพียงพอในการคงเป็นผู้นำที่มีเปี่ยมด้วยความสามารถของเวียดนามใต้ หลายคนเห็นว่าเดียมเป็น "คนที่ดีที่สุดในกลุ่มคนเลว"ในขณะที่ทำเนียบข่าวกำลังประชุมกันเพื่อตัดสินอนาคตของนโยบายที่มีต่อเวียดนาม ก็มีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธในระดับผู้นำสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์





ในช่วง พ.ศ. 2499-2503 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนามต้องการที่จะรวมประเทศโดยวิถีทางการเมืองเพียงอย่างเดียว มันได้รับเอารูปแบบการต่อสู้ทางการเมืองมาจากสหภาพโซเวียต และได้พยายามโค่นล้มรัฐบาลของเดียมโดยการเพิ่มแรงกดดันทางการเมืองภายในแต่ไม่สำเร็จ  ภายหลังจากความสำเร็จของเดียมในการต่อสู้กับพวกแทรกซึมคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ กลุ่มคอมมิวนิสต์ที่อยู่ทางใต้เกลี่ยกล่อมให้พรรคนำเอาวิธีการที่รุนแรงกว่าเดิมเพื่อทำให้เดียมกระเด็นออกจากเก้าอี้ ในการประชุมใหญ่ของพรรคครั้งที่สิบเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2502 ในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์ก็ตกลงที่จะใช้วิธีการที่รุนแรงในการโค่นล้มรัฐบาลของเดียม ในเดือนพฤษภาคม ของปีเดียวกันนั้นและอีกครั้งในเดือนกันยายนพ.ศ. 2503 พรรคย้ำการใช้ความรุนแรงและการผสมผสานระหว่างขบวนการต่อสู้ทางการเมืองและอาวุธ ผลก็คือการเกิดขึ้นของกลุ่มที่มีฐานปฏิบัติการอันกว้างขวางในการระดมชาวเวียดนามใต้เพื่อต่อต้านรัฐบาลในกรุงไซง่อน






กลุ่มปลดปล่อยชาติเวียดนาม 

กลุ่มใต้ดินที่มีชื่อว่า ยูไนเต็ดฟรอนท์มีรากฐานทางประวัติศาสตร์อันยาวนานในเวียดนาม ในช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ พวกคอมมิวนิสต์ได้ใช้กลุ่มนี้ในการระดมกองกำลังต่อต้านฝรั่งเศส กลุ่มใต้ดินได้นำเอาพวกที่เป็นและไม่เป็นคอมมิวนิสต์มารวมกันเป็นองค์กรที่มีเป้าหมายที่จำกัดแต่สำคัญ ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2503 กลุ่มใต้ดินแบบใหม่ของพรรคคอมมิวนิสต์คือกลุ่มปลดปล่อยชาติเวียดนาม (เอ็นเอลเอฟ) ก็ได้อุบัติขึ้น ใครก็ได้สามารถเข้ามาเป็นสมาชิกตราบที่เขาคนนั้นต่อต้านโง ดินห์ เดียม  ชาวเวียดนามที่ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์จำนวนมากที่เข้าร่วมกลุ่มใต้ดินอาจจะไม่ได้ตระหนักว่าท้ายสุดแล้วทางพรรคก็จะยุบเอ็นเอลเอฟและจำกัดบทบาทของกลุ่มที่ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ในรัฐบาลผสม




ลักษณะของเอ็นเอลเอฟและความสัมพันธ์ที่มีต่อพรรคคอมมิวนิสต์ในกรุงฮานอยได้ก่อให้เกิดการโต้เถียงกันในบรรดานักวิชาการและนักกิจกรรมต่อต้านสงครามรวมไปถึงนักวางนโยบาย  นับตั้งแต่ เอ็นเอลเอฟได้อุบัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 เจ้าหน้าที่รัฐบาลในกรุงวอชิงตันอ้างว่ากรุงฮานอยนั้นได้ชี้นำให้พวกเอ็นเอลเอฟโจมตีรัฐบาลไซง่อนอย่างรุนแรง  จากชุด "เอกสารปกขาว"ของรัฐบาล คนข้างในกรุงวอชิงตันประณามเอ็นเอลเอฟโดยอ้างว่ามันเป็นหุ่นเชิดของกรุงฮานอย  ในทางกลับกัน เอ็นเอลเอฟบอกว่ามันเป็นกลุ่มอิสระ ไม่ขึ้นกับพวกคอมมิวนิสต์ในกรุงฮานอย และสมาชิกส่วนใหญ่เป็นพวกที่ไม่ได้สังกัดพรรคคอมิวนิสต์ กรุงวอชิงตันก็ยังคงทำลายความน่าเชื่อถือเอ็นเอลเอฟและเรียกคนเหล่านั้นว่า "เวียดกง"อันเป็นคำแสลงที่หยาบคายสำหรับพวกคอมมิวนิสต์เวียดนาม 


  ภาพและข้อมูลจาก  Johann sebastian Bach - www.pantip.com
แปลจาก  vietnam.vassar.edu ของมหาวิทยาลัย Vassar 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น