คลังบทความของบล็อก

1 พฤศจิกายน 2561

โกวเล้ง อัจฉริยะปีศาจ

                                      โกวเล้ง อัจฉริยะปีศาจ 



  โกวเล้งมีชื่อจริงว่า โสงเอี๋ยวฮว่า  เกิดเมื่อพ.ศ.2481 ที่ฮ่องกงแต่มาโตที่ไต้หวัน (Xiong Yaohua) เจ้าของนามปากกา "โกวเล้ง” (Gu Long)  มีฐานะยากจนต้องทำงานหาเงินเรียนหนังสือเอง จนกระทั่งจบมหาวิทยาลัยตั้นเจียง Tamkang University (วิทยาลัยภาษาต่างประเทศแห่งไต้หวัน)

 โก้วเล้งเข้าทำงานแรกเป็นบรรณารักษ์ประจำห้องสมุดยูซีสของคณะที่ปรึกษาทหารอเมริกันในกรุงไทเป ของไต้หวันทำให้มีโอกาสเก็บเกี่ยวหาความรู้ด้านวรรณกรรมและนวนิยายตะวันตก  ในปี 2503 เขาตีพิมพ์นิยายเรื่องแรกคือ "The Vault of Heaven and the Sword of Divinity” โดยใช้นามปากกาว่า "โกวเล้ง” ในช่วงแรก ๆ นิยายของเขายังเป็นแนวบู๊ล้างแค้นธรรมดา จึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก และนิยายส่วนใหญ่ไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย

  โก้วเล้ง  หลินชิงเสีย   เจิ้น เส้าชิว     



โก้วเล้ง กับเวอร์ชั่น ไว้หนวด

โก้วเล้งกับเรียวหนวดที่แสนชอบ

จากนั้นโกวเล้งก็พัฒนาฝีมือมาเรื่อย สร้างแนวการเขียนใหม่ เน้นความรู้สึก ความขัดแย้งทางจิตใจและความคิดของตัวละคร แทรกคติเตือนใจ แฝงปรัชญาชีวิต แบบ"คุณธรรมน้ำมิตร" รวมทั้งการเดินเรื่องแบบบทภาพยนตร์ และใช้เทคนิคการเดินเรื่องแบบภาพยนตร์ จนกลายเป็นแนวทางของตัวเอง  ผลงานของโกวเล้งโดดเด่นในการนำเสนอเรื่องราวธรรมดาในชีวิตมนุษย์ ได้อย่างลึกซึ้ง ซ่อนปรัชญาคมคาย สะท้อนเบื้องลึกของจิตใจมนุษย์ผ่านภาษาที่สวยงาม อีกทั้งโกวเล้งยังมีความสามารถในการสร้างบุคลิกภาพของตัวละครได้ชัดเจน มีเลือดเนื้อและมีอารมณ์ความรู้สึกสมจริง แม้โกวเล้งจะรู้สึกขมขื่นในฐานะที่เป็น “นักเขียนนิยายกำลังภายใน” ซึ่งสายตาของคนทั่วไปในสมัยนั้นมองว่าด้อยค่า มิใช่วรรณกรรม ภายหลังเมื่อรูปแบบการเขียนของเขาถูกลอกเลียนโดยนักเขียนรุ่นใหม่ ผลงานของเขาจึงเสื่อมความนิยมลง ประกอบกับนิสัยใจกว้าง คบคนทุกระดับ รักสุรา นารี แม้จะมีรายได้จากงานเขียน แต่เขาก็ใช้มันไปกับการนี้จนไม่เหลือ ทุกคราวที่สุข เศร้า เหงา หรือทำงานจำต้องยกจอกสุราขึ้นดื่ม 

                                                                                    


พ.ศ. 2502 โกวเล้งก็เริ่มเขียนนิยายกำลังภายในเรื่องแรกคือเรื่อง"ชังเกียงซึ้งเกี่ยม" เป็นแนวบู๊ล้างแค้นธรรมดาทำให้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จและนิยายส่วนใหญ่ไม่มีการแปลเป็นภาษาไทยซึ่งชังเกียงซึ้งเกี่ยมก็เช่นกันโดยชื่อนวนิยายเรื่องนี้หากแปลเป็นภาษาไทยจะมีชื่อว่า เทพกระบี่โพยม 


พ.ศ. 2506 เขียนเรื่อง"พิฆาตทรชน" ได้รับการตอบรับจากคอนิยาย ทำให้เขาเริ่มมีชื่อเสียง และเป็นการเริ่มต้นใช้นามปากกา"โกวเล้ง" (มังกรโบราณ) อย่างจริงจัง

พ.ศ. 2509 โกวเล้งสร้างแนวการเขียนใหม่ เน้นความรู้สึก ความขัดแย้งทางจิตใจและความคิดของตัวละคร แทรกคติเตือนใจ ปรัชญาชีวิต แบบ"คุณธรรมน้ำมิตร" รวมทั้งการเดินเรื่องแบบบทภาพยนตร์ ซึ่งมีเรื่อง ศึกสายเลือด นักสู้ผู้พิชิต ศึกศรสวาท ธวัชล้ำฟ้า ราชายุทธจักร

ช่วงต่อมานับเป็นยุคทองของโกวเล้ง แสดงให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะ โกวเล้งเขียนเรื่อง เซียวฮื่อยี้ ได้รับความนิยมจนกลายเป็นนักเขียนมือหนึ่งของไต้หวัน ผลงานโดดเด่นที่สุดของเขาคือเรื่อง ฤทธิ์มีดสั้น        

     โก้วเล้ง"เป็นนักเขียนกำลังภายในชื่อกระฉ่อน ได้ชื่อว่าแหวกแนวนิยายกำลังภายในรุ่นเก่าอย่างสิ้นเชิง เน้นพฤติกรรมตัวละคร ความขัดแย้งระหว่างบุคคล ความขัดแย้งภายในอารมณ์ของตัวละคร และความขัดแย้งในเหตุการณ์
        

ผลงานเขียนนิยายส่วนหนึ่งของโก้วเล้ง







พยัคฆ์ร้ายบ๊ลิ้มในปี 2524 ทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง A Sword Named Revenge นำแสดงโดย หวังกวงสง จินฮั่น 



ราชายุทธจักร


ราชายุทธจักร เคยทำเป็นภาพยนต์ทีวี และนำมาฉายในไทย
ประมาณปี พ.ศ.2520 นำแสดงโดย เว่ย จื้อเหวินและ หมีเซี๊ยะ



เดชเซียวฮื้อยี๊
เดชเซียวฮื้อยี๊  เคยทำเป็นหนังทีวีและฉายในไทย
ประมาณ พ.ศ.2522 นำแสดงโดย หวง หยวนเซิง และ หวง ซินซิ้ว



เซียวจับอิดนี๊ง


เซียวจับอิ็ดนึ๊ง  เคยทำเป็นหนังทีวีและฉายในไทย
ประมาณ พ.ศ.2521 นำแสดงโดย เซี๊ยะ เสียน


ฤทธิ์มีดสั้น

ฤทธิ์มีดสั้น ฉายทางทีวีไทยเมื่อ พ.ศ.2521 เป็นที่นิยมมากสุด
นำแสดงโดย จูเจียง หวง ้หยินเซิง หวง ซินซิ้ว



เวอร์ชั่นหนังใหญ่จับ3ดาราดังมาชนกัน ตี้หลุง  ฟู้เซิง  เอ๋อ ตงเซิง




ฤทธิ์มีดสั้นฉบับหนังสือ  


สำหรับผลงานในช่วงพ.ศ.2513 มีผลงานมากมาย ชอลิ่วเฮียง-เล็กเซี่ยวหงส์-อินทรีผงาดฟ้า-ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่-จอมดาบหิมะแดง-ซาเสียวเอี้ย-จับอิดนึ้ง-เหยี่ยวนรกทะเลทราย-ทวนทมิฬ-ตะขอจำพราก ฯลฯ และยังผลงานของโก้วเล้งไปสร้างเป็นภาพยนตร์โด่งดังไปทั่ว ครั้งหนึ่ง มีผู้ถามโก้วเล้งว่าเขียนหนังสือเพื่ออะไร  โก้วเ้งตอบว่า"เขียนหนังสือเพื่อซื้อข้าวกิน"  

                                               





ชีวิตส่วนตัวของโก้วเล้ง มีภรรยา 3 คน มีบุตร 2 คน โก้วเล้งนับเป็นคนที่มีคุณธรรมน้ำมิตร คบหาคนทุกระดับ นิยมชมชอบ 3 สิ่ง คือเพื่อน สุรา นารี ทำให้เขาไม่ค่อยมีทรัพย์สินที่มั่นคง ถึงแม้มีรายได้มหาศาลจากการเขียนหนังสือ ซึ่งสันนิษฐานกันว่าเขาใช้เงินจำนวนมากกับการเที่ยวราตรีและดื่มสุรา

 โก้วเล้งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 ก.ย.2528 ที่โรงพยาบาลซันจวิน กรุงไทเป ด้วยโรคตับแข็งเพราะการดื่มสุราหนัก รวมอายุ 48 ปี

 ในงานศพของโก้วเล้ง ฉีเส้าเฉียน ดาราหนังชื่อดัง ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทคนหนึ่งของโก้วเล้ง ถึงขนาดขนขวดเหล้าเอ็กซ์โอ 49 ขวดไปใส่ในโลงศพเพื่อเป็นการคารวะนักเขียนอมตะผู้นี้

ฉี เส้าเฉียน เพื่อนรักของโกวเล้ง

โกวเล้ง   รักการดื่มสุราเป็นอันมาก ในบทประพันธ์ของเขา   จึงมักมีเรื่องสุรามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ
เสมือนเขาเป็นคนที่ยกย่องในสุราและบูชาในสุราเหลือเกิน ไม่แปลกที่มักมีผู้เรียกเขาว่า เป็นปีศาจ
สุรา หรือบ้างก็เรียกเขาว่า"โกวเล้ง มังกรเมรัย : คารวะหนึ่งจอก  ประหนึ่งยกย่อง ประหนึ่งเหน็บแนม

เรามาดูคำคมในบทประพันธ์ของโกวเล้งที่เกี่ยวกับสุรากันครับ  

- สุราดี แต่สุราดีหรือเลวหาได้อยู่ที่ตัวมันไม่......กลับอยู่ที่ท่านดื่มมันเวลาใด ?

 - สุราไม่อาจคลี่คลายความคับแค้นของผู้ใดได้ แต่สามารถดลบันดาลให้ท่านหลอกตัวเองได้

- ผู้ดื่มสุราเมามาย มักเข้าใจว่าตัวเองเป็นคนมีเหตุผลที่สุดในโลก ไม่ว่ากระทำเรื่องราวใดล้วนถูกต้อง ที่ผิดพลาดต้องเป็นผู้อื่น?

- เราดื่มสุรากลัวเพียงฟ้าสว่าง หากฟ้าไม่สว่างเราพอจะดื่มอีกเท่าไหร่ก็มิเป็นไร แต่พอฟ้าสว่างเราจะรู้สึกปวดหัวทันที กระทั่งสุราก็ดื่มไม่ลงแล้ว
- ...นี่มิใช่เป็นเมรัยแล้ว แต่เป็นสุราขมฝาดของชีวิตเมื่อยังมีชีวิตก็ต้องรับไว้ ต้องดื่มไป

 -  ข้าพเจ้ามิได้ชื่นชอบรสชาติของสุรา หากแต่หลงใหลในบรรยากาศของการร่ำสุรา

- เนื่องเพราะโลกนี้มีของเหลวที่ล้ำค่าเพียงชนิดเดียว ของเหลวชนิดนี้คือ สุรา

- เนื่องเพราะมีสุราจึงสามารถทำให้ผู้คนลืมเรื่องที่ไม่ควรนึกถึง  และเรื่องน่าเศร้าที่สุดของคนคือ นึกถึงเรื่องที่พวกเขาไม่สมควรนึกถึ

- นอกจาก "ความตาย" แล้ว มีแต่สุราจึงสามารถทำให้ผู้คนลืมเลือนเรื่องเหล่านี้  ..ความตายช่างล้ำค่าปานนั้น มีเพียงครั้งเดียว ไม่มีครั้งที่สองเด็ดขาด

     หากคุณสงสัยในความเป็นอัจฉริยะของโก้วเล้ง ผมขอบังอาจแนะนำให้คุณหาหนังสือของโกวเล้ง  มาอ่านสักเล่มสองเล่ม  แล้วคุณจะไม่สงสัยในความเป็นอัจฉริยะของเขาเลยครับ   ส่วนท่านที่ยังไม่เคยอ่าน นวนิยายกำลังภายในเลยสักครั้งในชีวิต  ผมขอแนะนำ ฤทธิ์มีดสั้น ของโกวเล้งครับ

                                                                    --------------------------------------------------------
          






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น