คลังบทความของบล็อก

15 พฤศจิกายน 2561

เรื่องของเพลงลูกทุ่ง








เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง  
     
     เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์ ได้กล่าวถึงลักษณะเด่นของเพลงลูกทุ่ง จากการสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง "เส้นทางเพลงลูกทุ่งไทย" เมื่อวันที่ ๒๕ - ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๓ สรุปได้ ๔ ประการดังนี้

         1. เรียบง่าย 
คำร้อง เนื้อร้องของเพลงลูกทุ่งมีความเรียบง่าย แต่ยังคงไว้ซึ่งระเบียบแบบแผน มีลักษณะสัมผัสแบบกลอน มีท่อนวรรคสดับ รับ รอง ส่ง แต่ละวรรคจะมีคำร้องจำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับทำนองและจังหวะของบทเพลง


            2. ใส่ความรู้สึก


เพลงลูกทุ่งสามารถใส่ความรู้สึกตลก เศร้า เสียดสี สนุกสนาน สามารถเล่นเสียง มีลีลาการร้องที่ไม่เหมือนเพลงลูกกรุง ที่ร้องแบบเรียบๆ เนื่องจากเพลงลูกทุ่งรับเอาวัฒนธรรมมาจากเพลงไทยเดิม และเพลงพื้นบ้าน จึงเปิดทางให้ผู้ร้องใส่ความรู้สึกลงไปในถ้อยคำได้

            3. บันทึกเรื่อง

เพลงลูกทุ่งส่วนมากจะบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น นับเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์สังคมไทยในช่วงเวลาต่างๆ เช่น ภาวะสงคราม การเมือง สภาพสังคมสมัยต่างๆ

             4. เฟื่องภาษา

เพลงลูกทุ่งสามารถใช้ถ้อยคำบรรยายให้เกิดภาพพจน์ บางเพลงมีสำนวนโวหารที่สละสลวย




ฉากหนึ่งในภาพยนต์เรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง พ.ศ. 2513


     ขุนวิจิตรมาตราบันทึกไว้ในหนังสือเรื่องของละครและเพลง ว่าเพลงลูกทุ่งเป็นวงดนตรีแบบสากลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปีหรือสองปี ลักษณะเพลงลูกทุ่งในระยะเริ่มแรก มาจากการร้องรำทำเพลงของไทยดั้งเดิม อาทิ แหล่เทศน์ สวดคฤหัสถ์ จำอวด ลิเก (ทรงเครื่อง) ลิเกลูกบท (ไม่แต่งเครื่อง) ลิเกบันตน ลำตัด เพลงขอทาน เพลงพื้นเมืองบางเพลง ฯลฯ โดยเพลงลูกทุ่งนำมาดัดแปลงแล้วใส่ดนตรีแบบสากล เป็นลักษณะเพลงแบบใหม่  


ขุนวิจิตรมาตรา


     ส่วนคำว่า "เพลงลูกทุ่ง" อาจารย์จำนง รังสิกุล คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 เพลงลูกทุ่งมีความชัดเจนจากเพลงลูกกรุงโดยประกอบ ไชยพิพัฒน์ จัดรายการเพลงสถานีไทย โทรทัศน์ ใช้ชื่อรายการว่า "เพลงลูกทุ่ง"

                        

อาจารย์จำนง รังสิกุล

  สุรพล สมบัติเจริญ ได้ทำให้เพลงลูกทุ่งอยู่ในความนิยม ในช่วงปี พ.ศ. 2506–2513 จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของเพลงลูกทุ่ง ได้เกิดการแข่งขัน และยังมีนักร้องลูกทุ่งเกิดขึ้นใหม่หลายคน ต่อมาหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เพลงลูกทุ่งก็อยู่ในยุคเพลงเพื่อชีวิต เนื้อหาเพลงลูกทุ่ง ได้สอดแทรกเนื้อหาเพลงเพื่อชีวิต โดยในยุคนั้นมีเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้น ระหว่าง พ.ศ. 2520–2528 วงดนตรีเพลงลูกทุ่งได้เข้าสู่ระบบทุนมากขึ้น มีการแสดงเพลงลูกทุ่งมีการประกวดประชันการเต้นและเครื่องแต่งกายของหางเครื่องประกอบ จนในปัจจุบัน มีศิลปินลูกทุ่งหน้าใหม่เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งของค่ายเพลงหน้าใหม่ ตลาดเพลงลูกทุ่งเป็นตลาดใหญ่ เพลงลูกทุ่งได้รับความนิยมอีกครั้ง และมีการมอบรางวัลทางดนตรีลูกทุ่งอยู่หลายรางวัล



ครูสุรพล สมบัติเจริญ


สำหรับธุรกิจเพลงลูกทุ่งในปัจจุบันถือเป็นตลาดใหญ่ มีทั้งค่ายเล็ก ค่ายใหญ่ เป็นจำนวนมาก โดยสัดส่วนของเงินในตลาดเพลงลูกทุ่งครอง คาดการณ์น่าจะอยู่ที่ ปีละ 1,000-1,500 ล้านบาท โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ภาคอีสาน 50% ภาคเหนือและภาคกลาง 35% และภาคใต้ 15% และสัดส่วนการแบ่งตลาด มีแกรมมี่ โกลด์ ครองส่วนแกาตลาดเพลงลูกทุ่งทั่วประเทศ 65% ส่วนอาร์สยาม 19% และอื่นๆ 16%             ซึ่งธุรกิจเพลงลูกทุ่งได้ขยายไปสู่
ธุรกิจใกล้เคียงอย่างสื่อวิทยุ โทรทัศน์และภาพยนตร์      



ครูคำรณ สัมบุณณานนท์
ต้นตำหรับเพลงลูกลูกทุ่งในยุคแรก 




                                  ครูไพบูลย์ บุตรขัน อัจฉริยะนักประพันธ์ในยุคต้นๆของวงการลูกทุ่ง

พูนพิศ อมาตยกุล (ประมาณปี 2532 - 36) ได้สรุปเกี่ยวกับเพลงลูกทุ่งไว้ว่า เพลงลูกทุ่งคือ เพลงที่ได้จาก
การประสานของเพลงแบบต่างๆ หลายประเภทรวมกัน ได้แก่ เพลงพื้นบ้าน เพลงไทยเดิม เพลงชีวิตและ
เพลงไทยสากล เพลงลุกทุ่งมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ
1. ร้อยเนื้อหาหนึ่งทำนอง
2. บรรยายความอันเกี่ยวเนื่องชีวิตไทยชนบท
3. ดนตรีไม่สนใจแยกเสียงประสาน สนใจเสียงร้องและค าร้องมากกว่า
4. นักร้องเพลงลูกทุ่ง คือ นักร้องที่มีเสียงดี ร้องเต็มเสียงใช้เสียงแท้
5. ใช้ส านวนลีลาว่ากันตรงไปตรงมาอย่างชาวบ้าน จึงคล้ายเพลงพื้นบ้านมาก
6. ใช้วิธีพูดอย่างซื่อๆ กว่าการใช้แสงสี เครื่องแต่งกายและผู้ประกอบการจ านวนมาก
ก่อให้เกิดภาพรวมที่ตระการตาตระการใจ


     

           เกลียดแสงจันทร์  ศิริจันทร์  อิศรางกูร

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “ลูกทุ่ง
ไทยกับเพลงไทย” ทรงกล่าวว่าเพลงลูกทุ่งเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติเช่นเดียวกับเพลงไทยประเภท
อื่นๆ เพลงลูกทุ่งมีความดีหลายประการ คือ

1. เป็นหลักฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของสังคมประเทศ
2. เป็นที่รวบรวมของภูมิปัญญาและทรัพย์สินทางปัญญาของชาวบ้าน
3. เป็นเพลงที่เรียบง่าย คือ เข้าใจง่าย ร้องง่าย จำง่าย ความสามารถเข้าถึงสังคมทุกชั้น
กระจายได้กว้างไกลถึงชนบททุกแห่ง
4. มีความเป็นไทยทั้งในเรื่องของภาษา ทำนองและการขับร้อง


ขอบคุณเนื้อหา(บางส่วน)จาก  บทความเรื่อง "หนังสือต้องห้าม ความรู้ที่ถูกจองจำ" นิตยสารสารคดี ฉบับที่ ๒๖๐ ปีที่ ๒๒ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจาก   ปริญญานิพนธ์ของคุณ เอื้อมพร รักษาวงศ์ 



                                                      ----------------------------








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น