หลวงพ่อเกษม เขมโก หรือ ครูบาเจ้าเกษม เขมโก (นามเดิม เจ้าเกษม ณ ลำปาง) เป็นพระเถระและเกจิอาจารย์ ผู้เคร่งครัดในธุดงควัตร ปลีกวิเวก พุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นพระเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย และมีผู้มีความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน อีกทั้งท่านยังเป็นเจ้านายในราชวงศ์ทิพย์จักร ที่ออกผนวชอีกด้วย
หลวงพ่อเกษม เขมโก เดิมมีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
สมัยตอนเด็กๆมีคนเล่าว่าท่านซนมากมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น(ต้นฝรั่ง)เกิดผลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศีรษะ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว 7 วันได้ลาสิกขาและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ 15 ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ท่านได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ. 2474 และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา โดยมีพระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย
พ.ศ. 2479 ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น
เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว ท่านแสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา จนกระทั่ง ท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านได้ตามครูบาแก่น สุมโน ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก จนถึงช่วงเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราวท่านจึงต้องแยกทางกับพระอาจารย์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออก ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา
ต่อมา เจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืน มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้ประชุมกันเพื่อหาเจ้าอาวาสรูปใหม่และต่างลงความเห็นพ้องต้องกันเห็นควรว่า พระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัดเพราะท่านเคยจำวัดนี้ ท่านเห็นว่าถือเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน หลังจากนั้นท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสหลายครั้งเนื่องจากท่านอยากจะออกธุดงค์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น ท่านจึงออกจากวัดบุญยืนไปที่ศาลาวังทานพร้อมเขียนข้อความลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสไว้ด้วย
หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสายวิปัสสนาธุระ ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ เป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของคนในจังหวัดลำปางและทั่วประเทศ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง หลวงพ่อเกษม เขมโก มรณภาพ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อเวลา 19:40 น. ของวันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ซึ่งตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 2 ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่สานุศิษย์ทั่วประเทศ ส่วนสรีระของท่านนั้นก็ยังความอัศจรรย์ด้วยเนื่องจากไม่เน่าเปื่อยเหมือนอย่างสังขารทั่วไป ทั้งยังเขียนป้ายบอกผู้ที่มาเคารพสรีระ ท่านด้วยว่าให้พนมมือไหว้ที่หน้าอกเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างศพของพระเถระทั่วไปนับว่าท่าน นั้นถือสมถะเป็นอย่างมาก
จนถึงเมื่อวันอังคารที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ เวลาประมาณ ๑๖.๓๐ นาฬิกา หลวงพ่อเกษม เขมโก เจ้าสำนักสุสานไตรลักษณ์ ประตูม้า จังหวัดลำปาง ได้ถูกนำตัวเข้ารักษาในห้องไอซียู โรงพยาบาลศูนย์ภาคเหนือลำปางเป็นการด่วน ด้วยอาการเลือดน้อยจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ (มีข่าวว่าหลวงปู่สิ้นลมหายใจ ที่กุฏิของท่าน และคุณอดิศร วัฒนบุตร หรือเจ้าของนามปากกา ''ดาว ลำปาง'' เป็นคนนำส่งที่โรงพยาบาลลำปาง หลวงปู่สิ้นลมหายใจไปประมาณ ๒ ชั่วโมง และแพทย์ได้ปั๊มหัวใจช่วยชีวิต ขึ้นมาได้ ได้ความว่า "หลวงปู่ฟื้นขึ้นมาจากสิ้นลมหายใจไป ๒ ชั่วโมง ท่านก็ได้สวดมนต์พึมพำทันที เป็นอันว่าท่านปลอดภัย")...
..การพับธนบัตร ของหลวงพ่อเกษม เขมโก ท่านต้องการที่จะรักษาด้านที่เป็นกษัตริย์ไว้ โดยท่านพับด้านที่มีรูปกษัตริย์เข้าข้างใน เพราะท่านไม่ต้องการให้กษัตริย์ต้องหม่นหมอง พับไม่ให้เสียหาย ตกหล่น เสียหาย ท่านว่า บุญบารมีของในหลวงสูง...
สืบเนื่องจากการที่ท่านได้สละตำแหน่งเจ้าอาวาสตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่ม มุ่งหน้าเข้ามาบำเพ็ญเพียรในป่าช้า มีเพียงอัฐบริขาร ๘ อย่าง ตามพุทธบัญญัติ
จริยวัตรหนึ่งที่ท่านได้ถือปฏิบัติตั้งแต่นั้นมาคือการอยู่ในอิริยาบถ ๓ โดยละเว้นอิริยาบถที่ ๔ คือ การนอน เรียกกันว่า #หลังของท่านไม่เคยแตะถูกพื้นเลย
เกล็ดเรื่องเล่า
...ในระหว่างเข้าพรรษา ประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้เขียนข้อความวันทาสังขาร ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาพากันตกใจยิ่งนัก เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ได้เข้าไปร้องขอหลวงพ่อฯ ท่านกลับบอกว่า
“เรารับปากในคราวนั้นนี่ก็ใกล้จะครบกำหนดอีก ๓ เดือนข้างหน้าแล้ว”
เจ้าประเวทย์ ถึงกับหน้าถอดสี และได้ร้องขอให้อยู่อีก ๑๐๐ เดือน ท่านยกมือห้าม วันรุ่งขึ้นเจ้าประเวทย์ฯ พร้อมด้วยลูกศิษย์ขอให้อยู่อีก ๑๐๐ เดือน ท่านกลับนิ่งเงียบโดยไม่พูดอะไรทั้งสิ้น
...ต่อมาพระมหาธงชัย ธัมมธโช (ปัจจุบัน พระพรหมมังคลาจารย์วัดไตรมิตรฯ) ได้เดินทางจากกรุงเทพฯ มานมัสการและได้เข้าร่วมสนทนาเรื่องนี้ด้วย ท่านบอกว่าจะอยู่อีก ๓ ปี เจ้าประเวทย์ฯ ได้พูดว่า
“หลวงพ่อฯ รับปากผมไว้ ๑๐๐ เดือน นะครับ”
ท่านก็ไม่ได้พูดอะไร กลับเปลี่ยนเรื่องสนทนาเป็นภาษาบาลีกับพระมหาธงชัย
หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้บำเพ็ญเพียรภาวนาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ท่านฉันอาหารน้อยมาก อีกทั้งอดอาหารเป็นระยะ ๆ ร่างกายของท่านเป็นโรคกระดูกผุและมีอาการหืดหอบมีอาการไข้ขึ้นสูง
เกล็ดเรื่องเล่า วาระสุดท้ายแห่งชีวิตของหลวงพ่อเกษม เขมโก
โดยการนอนของท่านจะอยู่ในท่าที่เรียกว่า “มูบ” คือ นั่งบนเก้าอี้หรือตั่ง ก้มหน้าลงบนฝ่ามือที่วางหงายอยู่บนหัวเข่าทั้งสอง
การนอนและปฏิบัติสมาธิภาวนาในท่านี้เป็นเวลานาน ประกอบกับการฉันจังหันน้อยทำให้ท่านมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังในวัยชรา...
#หลวงพ่อเริ่มอาพาธด้วยโรคปวดหลังอย่างมาก ถึงกระนั้นหลวงพ่อก็คงปฏิบัติภาวนา และอนุเคราะห์ต่อผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอมามิได้ขาด เมื่ออาการอาพาธของหลวงพ่อมีอาการหนักมากขึ้น บรรดาคณะศิษยานุศิษย์จึงได้นำนายแพทย์เข้าไปตรวจ นายแพทย์ได้นิมนต์ให้หลวงพ่อเข้าพักรักษาที่โรงพยาบาล แต่หลวงพ่อไม่ยอม
จนกระทั่งความได้ทราบถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้นายแพทย์จากกรุงเทพ ฯ มาถวายการรักษา และผ่าตัด หลวงพ่อจึงยินยอมเข้าโรงพยาบาล
นับตั้งแต่บัดนั้นมา หลวงพ่อจึงมีการเอนกายกับพื้น แต่ก็ยังไม่ยอมให้หลังแตะถูกพื้น โดยการใช้วิธีนอนตะแคงบ้างเป็นครั้งคราว
...ในระหว่างเข้าพรรษา ประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้เขียนข้อความวันทาสังขาร ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาพากันตกใจยิ่งนัก เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ได้เข้าไปร้องขอหลวงพ่อฯ ท่านกลับบอกว่า
“เรารับปากในคราวนั้นนี่ก็ใกล้จะครบกำหนดอีก ๓ เดือนข้างหน้าแล้ว”
เจ้าประเวทย์ ถึงกับหน้าถอดสี และได้ร้องขอให้อยู่อีก ๑๐๐ เดือน ท่านยกมือห้าม วันรุ่งขึ้นเจ้าประเวทย์ฯ พร้อมด้วยลูกศิษย์ขอให้อยู่อีก ๑๐๐ เดือน ท่านกลับนิ่งเงียบโดยไม่พูดอะไรทั้งสิ้น
...ต่อมาพระมหาธงชัย ธัมมธโช (ปัจจุบัน พระพรหมมังคลาจารย์วัดไตรมิตรฯ) ได้เดินทางจากกรุงเทพฯ มานมัสการและได้เข้าร่วมสนทนาเรื่องนี้ด้วย ท่านบอกว่าจะอยู่อีก ๓ ปี เจ้าประเวทย์ฯ ได้พูดว่า
“หลวงพ่อฯ รับปากผมไว้ ๑๐๐ เดือน นะครับ”
ท่านก็ไม่ได้พูดอะไร กลับเปลี่ยนเรื่องสนทนาเป็นภาษาบาลีกับพระมหาธงชัย
หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้บำเพ็ญเพียรภาวนาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ท่านฉันอาหารน้อยมาก อีกทั้งอดอาหารเป็นระยะ ๆ ร่างกายของท่านเป็นโรคกระดูกผุและมีอาการหืดหอบมีอาการไข้ขึ้นสูง
เกล็ดเรื่องเล่า วาระสุดท้ายแห่งชีวิตของหลวงพ่อเกษม เขมโก
โดยการนอนของท่านจะอยู่ในท่าที่เรียกว่า “มูบ” คือ นั่งบนเก้าอี้หรือตั่ง ก้มหน้าลงบนฝ่ามือที่วางหงายอยู่บนหัวเข่าทั้งสอง
การนอนและปฏิบัติสมาธิภาวนาในท่านี้เป็นเวลานาน ประกอบกับการฉันจังหันน้อยทำให้ท่านมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังในวัยชรา...
#หลวงพ่อเริ่มอาพาธด้วยโรคปวดหลังอย่างมาก ถึงกระนั้นหลวงพ่อก็คงปฏิบัติภาวนา และอนุเคราะห์ต่อผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอมามิได้ขาด เมื่ออาการอาพาธของหลวงพ่อมีอาการหนักมากขึ้น บรรดาคณะศิษยานุศิษย์จึงได้นำนายแพทย์เข้าไปตรวจ นายแพทย์ได้นิมนต์ให้หลวงพ่อเข้าพักรักษาที่โรงพยาบาล แต่หลวงพ่อไม่ยอม
จนกระทั่งความได้ทราบถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้นายแพทย์จากกรุงเทพ ฯ มาถวายการรักษา และผ่าตัด หลวงพ่อจึงยินยอมเข้าโรงพยาบาล
นับตั้งแต่บัดนั้นมา หลวงพ่อจึงมีการเอนกายกับพื้น แต่ก็ยังไม่ยอมให้หลังแตะถูกพื้น โดยการใช้วิธีนอนตะแคงบ้างเป็นครั้งคราว
#เรื่องนี้ เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ได้เล่าไว้ใน หนังสือที่ระลีกหลวงพ่อเกษม เขมโก ไว้ดังนี้
“เมื่อกล่าวถึงความอดทนอันเนื่องมาจากการปฏิบัติธุดงควัตรอย่างเคร่งครัดของท่าน จะเห็นได้จากการที่หลวงพ่ออาพาธด้วยโรคกระดูกสันหลังผุ ไม่สามารถจะลุกไปไหนได้
เรื่องนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ให้หมอรับมารักษาที่โรงพยาบาลลำปาง ในหลวงทรงห่วงใย และทรงโปรดพระราชทานหมอที่เชี่ยวชาญด้านกระดูกมาทำการรักษา
กล่าวกันว่า ตอนที่หมอจะทำการผ่าตัดเอากระดูกผุออกและใส่พลาสติกแทน ในขณะที่นำท่านเข้าห้องผ่าตัด ท่านได้ถามหมอว่าจะใช้เวลาผ่าตัดกี่ชั่วโมง หมอบอกว่าหนึ่งชั่วโมงก็เสร็จ ท่านบอกว่า #ไม่ต้องวางยาสลบ...
หมอบอกว่า ไม่ได้ เพราะตอนผ่าตัดจะเจ็บปวดมาก กลัวจะทนไม่ไหว
ท่านบอก ไม่ต้อง ถ้าจะผ่าตัดเมื่อไรบอกด้วย
เมื่อหมอทำความสะอาดร่างกายเรียบร้อยแล้วได้บอกท่านว่า หมอเตรียมพร้อมจะทำการผ่าตัดแล้ว
ท่านก็บอกลงมือได้ จากนั้นท่านก็นอนนิ่งไม่ไหวติงคล้ายคนไข้ถูกวางยาสลบ
เมื่อหมอทำการผ่าตัดเย็บบาดแผลเสร็จเป็นระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงเต็ม ท่านก็ฟื้นขึ้นมาตรงเวลา ไม่แสดงอาการเจ็บปวดหรือมีอาการเพ้อแบบคนไข้ทั่วไป พอท่านลืมตาขึ้นมาก็เรียกหมอให้เข้าไปพบพร้อมกับเป่าหัวให้ทุกคน ยังความอัศจรรย์ใจแก่หมอทั้งหลายยิ่งนัก
#นับว่าเป็นคนไข้รายแรกก็ว่าได้ที่มีสมาธิจิตเข้มแข็งยิ่ง ซึ่งเรื่องนี้ถ้าจะกล่าวกันในด้านธรรมะ หลวงพ่อเกษมสามารถแยกกายกับจิตได้ในขณะผ่าตัด ท่านถอดกายทิพย์ออก ก็คงไว้ซึ่งร่างกายที่ไร้วิญญาณ ใครจะทำอย่างไรก็ไม่มีอาการเจ็บปวดนั่นเอง”
และต่อมา ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ หลวงพ่อก็ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจังหวัดลำปางอีกเพื่อผ่าตัดต้อกระจก ซึ่งต้องผ่าตัดทำการรักษาดวงตาทั้ง ๒ ข้าง
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสอาราธนาขอให้หลวงพ่อเข้ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล โดยทรงรับเป็นพระราชภาระในการรักษาทุกอย่างให้และทรงรับหลวงพ่อไว้เป็นคนไข้ใน “พระบรมราชานุเคราะห์”
ขอขอบคุณ เครดิตจาก https://web.facebook.com/kasem.kemmako
วิกิพีเดีย ,เพจ บารมีหลวงพ่อเกษม เขมโก
..ขอบคุณภาพ : ดาว ลำปาง และเพจ ครูบาอาจารย์สายเมืองล้านนา
พระผู้ใฝ่ศึกษา มักน้อย สันโดษ เลิศความเพียร ยอดเยี่ยมในขันติ สมเป็นเนื้อนาบุญ
ตอบลบ