คลังบทความของบล็อก

20 พฤศจิกายน 2561

1929 เศรษฐกิจในอเมริกาพังทะลาย

      




วิกฤตเศรษฐกิจและความหายนะของตลาดหุ้นสหรัฐ ปี ค.ศ. 1929


ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (อังกฤษ: Great Depression) เป็นเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เกิดในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ในปี ค.ศ. 1929 หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และขยายวงไปยังนานาประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่ได้ประสบผลกระทบไปด้วย จนเกิดการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1932[ต้องการอ้างอิง] ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปซึ่งประสบความเสียหายจากภัยพิบัติของสงครามบูรณะฟื้นฟูประเทศ และระบอบเศรษฐกิจให้กลับเข้าสู่ปกติได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการผลิตของเศรษฐกิจภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและการบริการ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งไม่ได้รับความเสียหายจากสงครามมากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ก็มีส่วนช่วยให้ประเทศยุโรปฟื้นตัวได้เร็ว เพราะจัดส่งสินค้าและสิ่งจำเป็นในการฟื้นฟูระบบการผลิตและอุตสาหกรรม รวมทั้งให้สินเชื่อและเงินช่วยเหลือจำนวนมากแก่ประเทศต่าง ๆ


ผลพวงจากเศรษฐกิจพัง เดือดร้อนถึงลูกๆของชาวรากหญ้า


อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นก็เป็นระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้เพราะการขยายตัวอย่างรวดเร็วของตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงการสร้างภาพแก่นักลงทุนในแต่ละปีหุ้นมีราคาสูงขึ้นประมาณร้อยละ 22 ดัชนีหุ้นสามัญเพิ่มขึ้นจาก 100 ใน ค.ศ. 1926 เป็น 225 ใน ค.ศ. 1929 ทำให้คนหันมาลงทุนในตลาดหุ้นมาก เพราะหวังผลกำไรในระยะเวลาอันสั้นแต่เมื่อเศรษฐกิจของประเทศเริ่มประสบปัญหาเพราะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำลง การกู้ยืมมีมากและอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ความต้องการในสินค้าเริ่มลดลงจนทำให้ผู้ประการงดลงทุนเพราะเกรงว่าสินค้าที่ผลิตจะจำหน่ายไม่หมด



คนตกงานเข้าคิวรอรับอาหาร ด้านหลังคือป้ายแสดงความหวังจากรัฐบาล



คนยากไร้อเมริกันต่อคิวรับอาหารจากเอกชนใจบุญ



คนตกงานเริ่มประท้วงตามท้องถนน


ตั้งแต่ ค.ศ. 1925 เป็นต้นมา ราคาหุ้นจึงแกว่งตัวขึ้น ๆ ลง ๆ อย่างรุนแรง นักธุรกิจและธนาคารซึ่งไม่มั่นใจในตลาดหุ้นจึงพยายามเรียกคืนหนี้สินที่ปล่อยกู้ไปราคาหุ้นจึงดิ่งลงเรื่อยๆ จนตลาดหุ้นที่วอลสตรีท นครนิวยอร์ก ล้มลงเมื่อวันอังคารที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1929 เหตุการณ์ดังกล่าวต่อมาเรียกว่าอังคารทมิฬ (Black Tuesday) ความเสียหายทางการเงินครั้งนี้ไม่เพียงทำให้เกิดหนี้เสียจำนวนมากจนธนาคารหลายพันแห่งต้องล้มลงและมูลค่าความเสียหายมากกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์ แต่ยังนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและขยายตัวไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็วภายในเวลาอั้นสั้น




บรรดาคนตกงานเดินผ่านป้าย ที่รัฐบาลทำเพื่อปลอบใจ


ชาวนาเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด ทั้งนี้ แต่เดิมคนกลุ่มนี้ก็มีรายได้น้อยกว่าชาวอเมริกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว แต่เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย รายได้ของพวกเขาก็ยิ่งลดน้อยลงไปอีก ประกอบกับได้เกิดภาวะภัยแล้งขึ้นในหลายพื้นที่ จนในที่สุด พื้นที่กสิกรรมส่วนใหญ่ของประเทศก็กลายสภาพเป็นทะเลฝุ่นที่ว่างเปล่า ขณะที่เกษตรกรจำนวนมากพากันสิ้นเนื้อประดาตัว



ผู้คนเริ่มไร้ที่อยู่




สามีภรรยาคู่นี้ต้องขายวัวเเละบ้าน เเล้วย้ายมาอยู่กระต๊อบนี้แทน


ในระยะเวลาดังกล่าว ประธานาธิบดี แฟลงคลิน ดี. โรสเวลต์ ซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งแทนประธานาธิบดี เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ ได้กำหนดนโยบายเชิงรุกเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐ ทั้งนี้ โรสเวลต์ได้ตัดสินใจแก้ปัญหาที่ส่งผลชัดเจนต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศก่อน นั่นคือ ปัญหาการว่างงาน โดยหลังดำรงตำแหน่งได้ 100 วัน โรสเวลต์ได้ตั้งหน่วยงานใหม่ 10 องค์กรเพื่อบรรเทาทุกข์และช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ พร้อมกับรับคนว่างงานเข้าทำงานในโครงการสาธารณประโยชน์ต่างๆเพื่อแก้ปัญหาผู้ว่างงาน



คนในเมืองออกมาสร้างกระต๊อบอาศัยตามชานเมือง เพราะไม่มีเงินเช่าบ้าน


แม้ว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐจะกำลังดำเนินไปได้ดี ทว่าภายนอกประเทศนั้น ผลกระทบที่ลุกลามมาก่อนหน้านี้ ได้แพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว การที่กำลังซื้อของสหรัฐตกลง ส่งผลให้ยุโรปขายสินค้าได้น้อยลง ขณะที่การลงทุนของสหรัฐในยุโรปก็น้อยลงเช่นกัน สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ยุโรปที่เพิ่งฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งต้องทรุดลงไปอีก นอกจากนี้ การที่สหรัฐได้ออกกฏหมายขึ้นภาษีควบคุมการนำเข้า ส่งออก เมื่อ ปี ค.ศ. 1930 ขณะที่หลายประเทศก็ดำเนินนโยบายจำกัดการค้าระดับโลกในรูปแบบเดียวกันก็ยิ่งส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจของโลกยิ่งทรุดหนักลง จนถึงจุดวิกฤตต่ำสุดในปี ค.ศ. 1932 ที่อัตราการผลิตของโลกลดลงเหลือเพียงร้อยละ 62 และมีคนตกงานมากกว่า 30 ล้านคน






แววตาที่ไร้ความหวังของผู้เป็นแม่ กับลูกๆที่หิวโหย



หากเราย้อนมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็จะพบว่า สาเหตุหลักที่นำมาสู่ความหายนะทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี ค.ศ.1929  คือการหลงติดอยู่ในภาพลวงตาของความมั่งคั่งอันมาจากการเก็งกำไรในตลาดหุ้น การที่มูลค่าของกิจการถูกเพิ่มขึ้นจากการเก็งกำไร แทนที่จะเพิ่มจากความสามารถในการผลิตที่แท้จริง ทำให้เกิดปัญหาตามมา ทั้งความต้องการใช้วัตถุดิบที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นและแรงงานที่ไม่ถูกว่าจ้าง ขณะที่รายได้ซึ่งเพิ่มขึ้นในช่วงตลาดหุ้นเฟื่องฟูนั้น ส่วนใหญ่ไปตกอยู่ในมือของคนเพียงกลุ่มเดียวและเมื่อวงจรของตลาดหุ้นเกิดสะดุดลง ความเชื่อมั่นในสภาพเศรษฐกิจก็หมดไป จนเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่และทำให้ล้มครืนไปทั้งระบบในที่สุด


ขอขอบคุณ เนื้อหาและภาพบางส่วนจาก wikipedia , website komkid.com


                                                                ------------------------------------------------------










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น