คลังบทความของบล็อก

3 สิงหาคม 2563

“บ้าน” ในจินตนาการของเด็กผู้เติบโตในค่ายนาซี





ภาพ “บ้าน” ของเด็กผู้เติบโตในค่ายกักกันนาซี ลายเส้นยุ่งเหยิงที่ออกจากจิตใจที่มีบาดแผล
จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณบอกให้เด็กที่เติบโตมาในค่ายกักกันในช่วงสงคราม วาดภาพของ “บ้าน” ออกมา? ภาพที่พวกเด็กเหล่านั้นวาดออกมาจะเสียดแทงจิตใจขนาดไหนกัน
นี่คือภาพของ David Seymour ที่ถูกถ่ายมาจากศูนย์ฟื้นฟูจิตเวชสำหรับเด็กในวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ เมื่อปี 1948 โดยเป็นภาพของเด็กสาวที่ถูกเรียกว่า “Tereszka” หญิงสาวผู้เติบโตมาในค่ายกักกันของนาซีเยอรมัน
ข้อมูลที่เราทราบเกี่ยวกับเด็กสาวคนนี้มีอยู่น้อยมาก แต่จากภาพที่ปรากฏมาในสายตาของคนทั้งโลก ทุกคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าดวงตาของเธอ ไม่ใช่ดวงตาของเด็กที่ไร้เดียงสาอีกต่อไปแล้ว
เป็นไปได้ว่าในระหว่างที่อยู่ในค่ายกักกัน เด็กสาวคนนี้อาจจะต้องพบประสบการณ์ที่เจ็บปวดมามากกว่าที่จะบรรยายได้
และจากภาพที่เธอวาด หลายๆ คนก็ตีความไปถึงความสับสนวุ่นวายในจิตใจของเด็กสาว หรือแม้กระทั่งรั้วลวดหนามของค่ายกักกันเอง
ตลอดช่วงสงครามเชื่อกันว่ามีเด็กชาวยิวกว่า 216,000 คนถูกส่งไปยังค่ายกักกันเอาชวิทซ์ แต่เมื่อจบสงคราม ทางโซเวียตกลับพบเด็กชาวยิวหลงเหลือในค่ายเพียง 451 คนเท่านั้น
ในบรรดาเด็กเหล่านั้นยิ่งมีน้อยคนมากที่ได้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติ เพราะพวกเขามักไม่เหลือญาติพี่น้องอีกต่อไป ไม่รู้ที่ไปที่มาของตัวเอง หรือไม่ก็จะมีความผิดปกติทางอารมณ์อย่างรุนแรงจนต้องเขารับการรักษาในศูนย์ฟื้นฟูจิตเวช
หากโชคดีพวกเด็กๆ จะได้ถูกรับอุปการะหลังจากนั้น แต่ถึงอย่างนั้นบาดแผลที่พวกเขาได้รับก็มักจะเป็นเรื่องฝังลึกที่รักษาไม่หายไปอีกนานอยู่ดี
ที่มา rarehistoricalphotos

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น