คลังบทความของบล็อก

15 ธันวาคม 2561

ภาพเก่า เล่าเรื่องเมืองโคราช




นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อเมืองนครราชสีมาปรากฏครั้งแรกเป็นเมืองพระยามหานครในการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งให้ย้ายเมืองนครราชสีมามาตั้งบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. 2217



เนื่องจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองพระนครหลายประการ นอกจากนี้รูปสลักกองทัพชาวสยามบนระเบียงด้านหนึ่งของ นครวัด อาจเป็นชาวสยามจากลุ่มแม่น้ำมูลที่เกี่ยวข้องกับเมืองนครราช และยังมีการกล่าวถึงเมืองนครราชสีมาในพงศาวดารของกัมพูชาหลายครั้งด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีมุมมองอีกด้านหนึ่งก็ว่า นครราชสีมา นั้นเป็นคำไทยเป็นคำใหม่ แยกเป็นคำได้คือ นคร, ราช และ สีมา หมายความว่า "เมืองใหญ่อันเป็นขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักร" (ราช+สีมา) ส่วนคำว่า โคราช (สำเนียงถิ่น: โค-หฺราด , ไทยกลาง: โค-ราด, เขมร: โก-เรียช ) นั้น น่าจะเพี้ยนมาจาก นครราช (อ่านตามสำเนียงว่า คอน-หฺราด ซึ่งเป็นคำเรียกนครราชสีมาแบบย่อ ๆ ของชาวบ้าน) หรือ อังกอร์เรียจ ต่อมาลดรูปเป็น กอร์เรียจ และเพี้ยนเป็นโคราช ในที่สุด และไม่ได้เพี้ยนมาจากชื่อเมืองโคราฆปุระ (Gorakhpur) ที่เป็นชื่อเมืองสมัยใหม่ในแคว้นเดียวกับเมืองอโยธยา (Ayodhya) ในอินเดีย ตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ







เดิมทีนั้นชื่อเมืองนครราชสีมา มีการใช้ "นครราชสีมา" และ "นครราชสีห์มา" สลับกันไป จนกระทั่งเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2445 (พ.ศ. 2444 เดิม) ได้มีพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศว่า



ชื่อมณฑลแลเมืองนครราชสีห์มา ซึ่งใช้ตัว ห การันต์ด้วยนั้น เปนการผิดจากความหมายของชื่อเมือง แต่นี้ต่อไปอย่าให้ใช้ตัว ห การันต์ ให้ใช้ว่า นครราชสีมา ในการที่จะออกชื่อเกี่ยวด้วยมณฑลแลเมืองนี้ในที่ทั้งปวง



 ( ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๐ เล่ม ๑๘ หน้า ๗๙๑ )







ในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระองค์เจ้าบวรเดช ได้รวบรวมกองกำลังทหารจากมณฑลนครราชสีมาเป็นหลัก ร่วมกับ พันเอกพระยาศรีสิทธิ์สงคราม เพื่อทำการต่อสู้กับคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะผู้ก่อการได้ยกกองกำลังเข้ามาล้อมกรุงเทพฯ แต่เมื่อการต่อสู้ยืดเยื้อในที่สุดก็ต้องถอยทัพและประสบความพ่ายแพ้เนื่องจากมีกำลังที่น้อยกว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ พันโทหลวงพิบูลสงครามผู้บัญชาการกองกำลังผสมฝ่ายรัฐบาล มีอำนาจในการควบคุมกำลังทหารมากขึ้นส่งผลให้ได้อำนาจทางการเมืองและจัดตั้งรัฐบาลทหารได้ในเวลาต่อมา










ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทหารในสังกัด มณฑลทหารบกที่ 3 นครราชสีมา ได้ทำการร่วมรบในกรณีพิพาทอินโดจีน กองทัพไทยสามารถยึดดินแดนกลับคืนมาบางส่วน เป็นการชั่วคราว หลังสงครามยุติสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือสร้างถนนมิตรภาพ จาก สระบุรี ถึง นครราชสีมา ซึ่งเป็นทางหลวงที่ได้มาตรฐานดีที่สุดของประเทศในขณะนั้น












ในปี พ.ศ. 2523 มีความพยายามรัฐประหารโดยกลุ่มทหารของ พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา แต่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่นครราชสีมา กองกำลังทหารจากกองทัพภาคที่ 2 นำโดยพลตรี อาทิตย์ กำลังเอกได้เป็นกองกำลังหลักในการปราบกบฏลงได้ในที่สุด หลังจากนั้น อดีตผู้บัญชาการกองทัพภาคที่ 2 หลายท่านได้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในเวลาต่อมา






เนื่องจากความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ปัจจุบัน นครราชสีมา จึงได้กลายเป็นเมืองศูนย์กลางการรบที่สำคัญรองจากกรุงเทพมหานคร เป็นประตูสู่อิสาน เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเป็นที่ตั้งของกองฐานกำลังรบหลักของกองทัพบก และกองทัพอากาศในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2553 ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากฝนช่วงปลายฤดูตกหนักในบริเวณต้นแม่น้ำมูล นับเป็นอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปี











ชาติพันธุ์

ปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมามีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมากเป็นอันดับสองของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยประชากรหลากหลายเชื้อชาติหรือหลายชาติพันธุ์ แต่กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่มีจำนวนมากมีอยู่สองกลุ่มใหญ่คือ ไทย (หรือเรียกอีกอย่างว่า ไทโคราช) และอีกกลุ่มคือชาวลาว (ตอนบนและด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตจังหวัด) และมีชนกลุ่มน้อยอีกได้แก่ มอญ กุย (หรือส่วย) ชาวบน จีน ไทยวน ญวน และแขก

ภาพประกอบที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง








ภาพประกอบที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง



ชาวไทยสยามเก็บน้ำตาล

กลุ่มชาติพันธุ์ไทยที่อยู่ในนครราชสีมาเรียกอีกอย่างว่า ไทโคราช เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา คนกลุ่มนี้ใช้ภาษาคล้ายคนไทยภาคกลาง เพียงแต่เสียงวรรณยุกต์เพี้ยนไปบ้าง และมีคำศัพท์สำนวนบางอย่างที่มีลักษณะเป็นของตนเอง เดิมถิ่นนี้ชาวพื้นเมืองเป็นละว้า ชาวไทยภาคกลางได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองให้ขุนหลวงพะงั่วยกกองทัพมารวบรวมดินแดนแถบนี้เข้ากับกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองโปรดฯให้กองทหารอยุธยาตั้งด่านอยู่ประจำ และส่งช่างชาวอยุธยามาก่อสร้างบ้านเรือนและวัดวาอารามเป็นอันมาก ชาวไทยอยุธยาได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้อพยพมาอยู่นครราชสีมาอีกระลอกหนึ่งคือ คราวเสียกรุงครั้งที่2 โดยมีชาวไทยชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกได้อพยพเข้ามาเพิ่มด้วย ชาวไทยกลุ่มนี้และชาวไทยพื้นเมืองเดิม (เข้าใจว่าเป็นชาวสยามลุ่มน้ำมูล) สืบเชื้อสายเป็นชาวไทยโคราชและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีสืบทอดกันมา




ใช้เป็นภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง




ใช้เป็นภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง


กลุ่มไทโคราชเป็นกลุ่มที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองนครราชสีมา เพราะสำเนียงแตกต่างจากกลุ่มอื่น เป็นกลุ่มที่พูดภาษาไทยโคราชซึ่งคล้ายคลึงภาษาไทยกลางแต่สำเนียงเพี้ยน เหน่อ ห้วนสั้น เกิ่นเสียง มีคำไทยลาว (อีสาน) ปะปนบ้างเล็กน้อย ชาวไทยโคราชแต่งกายแบบไทยภาคกลาง รับประทานข้าวเจ้า อาหารทั่วไปคล้ายคลึงภาคกลาง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมคล้ายไทยภาคกลาง ปัจจุบัน กลุ่มไทยโคราชอาศัยอยู่ในทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ยกเว้นบางอำเภอที่มีชาวไทยอีสานมากกว่า (อำเภอบัวใหญ่ ปักธงชัย และสูงเนิน) และยังพบชาวไทยโคราชในบางส่วนของจังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอบำเหน็จณรงค์และจัตุรัส) และจังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง และหนองกี่)



ใช้เป็นภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง



ใช้เป็นภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง



ใช้เป็นภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง


ชาวไทอีสานเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนประชากรมากรองจากกลุ่มไทโคราช อาศัยอยู่มากในบางอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เช่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอบัวลาย อำเภอสีดา อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอประทาย อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอปักธงชัย อำเภอสูงเนิน และบางส่วนของอำเภอคง อำเภอห้วยแถลง อำเภอชุมพวง อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง และอำเภอสีคิ้ว เป็นต้น ชาวไทยอีสานพูดภาษาอีสานท้องถิ่นคล้ายกับจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน และมีขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนชาวอีสานทั่วไป กลุ่มชาวไทยอีสานอพยพเข้ามาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาหลายรุ่นตามความเจริญของเศรษฐกิจ ในบางข้อสันนิฐานให้ข้อมูลว่า เดิมชาวโคราชพูดภาษากลางแบบชาวสยาม และมีชาวไทยอีสานอพยพเข้ามาอยู่ปะปนกัน จึงเกิดการผสมผสานเป็นภาษาไทโคราช แต่อย่างไรก็ดีชาวไทยอีสานดั้งเดิมมีถิ่นอาศัยอยู่ในภาคอีสานมานานแล้ว มิได้อพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มีความพัวพันกับอาณาจักรไทยในอดีต เช่น โคตรบูรณ์ ศรีจะนาศะ ซึ่งเป็นอาณาจักรของศาสนาพุทธ มิใช่พราหม-ฮินดู แบบจักรวรรดิ์เขมร กล่าวได้ว่าชาวไทยอีสานเป็นชนพื้นเมืองเดิมของภาคอีสานมาช้านานแล้ว





ชาวไทยเชื้อสายลาว

อพยพเข้ามาอยู่สมัยสงครามปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยปราบเจ้าอนุวงศ์ในรัชกาลที่3 มีการกวาดต้อนครอบครัวลาวเข้ามาอยู่ในหัวเมืองชั้นในหลายครั้ง และมีการอพยพเข้ามาโดยสมัครใจเพิ่มขึ้นในระยะหลัง คนกลุ่มที่นี้มักเรียกกันว่า "ลาวเวียง" มีการใช้ภาษาลาวสำเนียงเวียงจันทน์ซึ่งต่างกับภาษาอีสานสำเนียงท้องถิ่นอย่างสิ้นเชิง กระจายอาศัยกันอยู่ทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันสืบหาแทบไม่ได้แล้วเนื่อจากการเทครัวมีมานับ200ปีและมีการแต่งงานกับคนพื้นเมือง มีจำนวนน้อยที่สืบหาได้ว่ามีเชื้อสาวลาวเวียงจันทน์ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ เช่น การเก็บรักษาผ้าซิ่นแต่เดิมไว้ และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เนื่องจากชาวลาวเวียงจันทน์อพยพมาจากเมืองที่มีวัฒนธรรมสูง มักจะมีของมีค่าติดตัวมาด้วย เช่น ผ้าซิ่น ข้าวของเครื่องใช้ รวมถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบชาวเวียงจันทน์ที่ยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ชาลาวเวียงจันทน์อพยพมากที่สุดในสมัยรัชกาลที่3เนื่องจากมีการทำสงครามกับเวียงจันทน์หลายครั้ง และเป็นครั้งใหญ่ที่ทำลายนครเวียงจันทน์อย่างราบคราบ จึงทำให้ชาวลาวเวียงจันทน์ถูกเกณฑ์เป็นเชลยจำนวนมาก โดยหัวเมืองใหญ่อย่างนครราชสีมารับชาวเชลยไว้เป็นจำหนึ่ง ส่วนที่เหลือกระจายไปตามหัวเมืองต่างๆในภาคกลาง









นครราชสีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2318 ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชทานครัวมอญที่อพยพเข้ามาสวามิภักดิ์ มีเจ้าพระยามหาโยธา (พญาเจ่ง) ต้นสกุล "คชเสนี" เป็นหัวหน้า แบ่งให้พระยานครราชสีมานำขึ้นมาอยู่ที่เมืองนครราชสีมา ตั้งครัวมอญที่ลำพระเพลิง เขตอำเภอปักธงชัยที่บ้านพลับพลา อำเภอโชคชัย พระยาศรีราชรามัญผู้เป็นหัวหน้าพาญาติพี่น้องมาอยู่ในเมืองเป็นสายกองส่วยทอง ตั้งบ้านเรือนเรียกว่าบ้านมอญ เมื่อเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2336 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) คุมกองมอญมาสมทบมาร่วมรบกับกำลังฝ่ายไทย เมื่อเสร็จศึกแล้วพวกมอญเห็นเมืองปักธงชัยอุดมสมบูรณ์จึงมาตั้งถิ่นฐาน ปัจจุบันชาวมอญในนครราชสีมายังรักษาวัฒนธรรมประเพณีมอญไว้ เช่น ภาษา การไหว้ผี การเล่นสะบ้าในเขตบ้านท่าโพธิ บ้านสำราญเพลิง ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำเครื่องปั้นดินเผา ภาษามอญจะใช้พูดในชาวไทยมอญที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป คนรุ่นหลังจากนี้จะพูดภาษาไทยโคราชทั้งสิ้น



ขบวนเกวียนขนสินค้าของชาวโคราช ราว พ.ศ. 2480
(ภาพจากเพจ ภาพเก่าประวัติศาสตร์อีสาน )




ใช้เป็นภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง


ส่วย


ส่วย หรือ ข่า เป็นชนพื้นเมืองของหัวเมืองเขมรป่าดงและเมืองนครราชสีมา พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร ได้อยู่ในพื้นที่นี้ก่อนที่คนไทยจะเข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน เมื่อปี พ.ศ. 2362 เจ้าเมืองนครราชสีมา (ทองอินทร์) ตีข่าได้ แล้วนำมายังเมืองนครราชสีมา ภาษาส่วย เป็นภาษาของชาวส่วยที่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง ปัจจุบันมีเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ที่ยังคงใช้ภาษาส่วยในกลุ่มของตนเอง นอกจากนั้นจะใช้ภาษาไทยโคราชเป็นพื้น



ใช้เป็นภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง



ใช้เป็นภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง



ใช้เป็นภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง


ญัฮกุร


ญัฮกุร หรือ เนียะกุล เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาหรือเนินเขาเตี้ย ๆ บริเวณด้านในของที่ราบสูงโคราช ชาวบนอาจสืบเชื้อสายมาจากคนในสมัยทวารวดี อยู่ในบางหมู่บ้านของอำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี และอำเภอหนองบุญมาก ภาษาชาวบน เป็นภาษาตระกูลมอญ-เขมร ปัจจุบันชาวบนพูดภาษาชาวบนเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป นอกจากนั้นใช้ภาษาไทยโคราช




ใช้เป็นภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง



ใช้เป็นภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง



ใช้เป็นภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง



ไทยวน


ไทยวน หรือ ไทยโยนก เป็นเผ่าไทยในภาคเหนือของไทย ได้อพยพเข้ามาอยู่ที่อำเภอสีคิ้วสองทางด้วยกันคือ พวกแรกอพยพจากทางเหนือมาอยู่ที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ต่อมาเจ้าเมืองสระบุรีต้องการตั้งกองเลี้ยงโคนมที่เมืองนครจันทึก จึงได้แบ่งครอบครัวชาวไทยวนจากอำเภอเสาไห้ไปอยู่ที่อำเภอสีคิ้ว ส่วนอีกพวกหนึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์ ชาวไทยวนยังรักษาประเพณีและวัฒนธรรมแบบโยนกไว้ได้ดีมาก ภาษาไทยวน ใช้พูดในหมู่ไทยวนด้วยกันเองซึ่งมีอยู่ประมาณ 5,000 คน ในเขตอำเภอสีคิ้ว ในท้องที่ตำบลลาดบัวขาว ตำบลสีคิ้ว และตำบลบ้านหัน






ใช้เป็นภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง



ใช้เป็นภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง



ใช้เป็นภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง



ใช้เป็นภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยตรง




ข้อมูลและภาพอ้างอิงจาก - หนังสือ ย้อนรอย 100 ปี โคราชวาณิช 

ข้อมูลและภาพอ้างอิงจาก - reurnthai.com, วิกิพีเดีย, หนังสือ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

ขอบคุณภาพจาก - เพจ โคราชในอดีต


ขอบคุณ ภาพจาก - Wasan Longcharoen













































1 ความคิดเห็น: