คลังบทความของบล็อก

2 ธันวาคม 2561

แฟ๊บกับบรีส อย่างไหนใครมาก่อน ?






  มักเกิดคำถามอยู่เสมอๆว่า  ผงซักฟอกทั้งสองยี่ห้อซึ่งคนไทยนิยมมากที่สุดนั้น  ยี่ห้อใดเข้ามาในเมืองไทยก่อนและหลัง     แต่ก่อนจะกล่าวถึงเรื่องนี้   เรามาทำความรู้จักกันสักหน่อยเป็นไร  ว่าผงซักฟอกยี่ห้อแรกๆของโลกหน้าตาเป็นอย่างไรกัน  และผลิตรที่ไหนกัน ?
                     ช่วงทศวรรษ 1930s ผลิตภัณฑ์สารซักฟอกชื่อ "เดร็ฟท์ (Dreft)" โดยบริษัท Procter & Gamble (P&G) ของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นแบรนด์แรกที่เปิดตลาดผลิตภัณฑ์สารซักฟอก (ผู้คนก่อนหน้านั้นใช้เกล็ดสบู่ (Soap Flakes)ในการซักผ้า) หลังจากนั้นก็มีผลิตภัณฑ์สารซักฟอกชื่อ "ไทด์ "(Tide) โดยบริษัทเดียวกันตามมาในปี 1943 ซึ่งสามารถขจัดคราบหนักได้ดียิ่งขึ้นด้วยส่วนผสมของสารเคมีพิเศษ

               

                                                              

dreft  ผงซักฟอกยี่ห้อแรกของโลก




ภาพโฆษณาสบู่ซักผ้า ก่อนมีผงซักฟอกของชาวยุโรป
เครดิตภาพจาก cokethai ลูกอีช่างเก็บ โรงแรมไทเป เชียงใหม่

ทีนี้เรามาทำความรู้จักกันว่า  ผู้คนในสมัยโบราณเขาซักผ้ากันโดยวิธีใด  ผู้คนสมัยโบราณซักผ้าด้วยวิธีการทุบด้วยไม้   ตามที่เราๆท่านๆเห็นตามหนังทีวีเกาหลีหรือจีนกันบ่อยๆ   ชาวอิตาเลียนใช้ส่วนผสมของกำมะถันและน้ำกับถ่าน(ทำให้เป็นนํ้าด่าง)เพื่อทำความสะอาดผ้า ชาวอียิปต์ใช้ขี้เถ้าและซิลิกอนซักผ้าโดยวิธีทุบด้วยไม้  คนอินเดียใช้ขี้เถ้าหรือผงถ่านทำเป็นนํ้าด่าง  แล้วใช้วิธิทุบด้วยไม้หรือใช้เท้ายํ่า   ส่วนคนไทยสมัยโบราณใช้ขี้เถ้าผสมนํ้า  แล้วกรองเอานํ้ามาซักผ้าโดยวิธีใช้ไม้ทุบเช่นกันครับ    ในบางท้องที่ของไทยในอดีต  มักใช้ใช้ผลประคำดีควายหรือมะคำดีควายในการซักผ้า   ซึ่งเป็นการรับวัฒนธรรมแบบนี้มาจากบางท้องถิ่นของอินเดีย ก็มีครับ   แต่หากเป็นคราบสกปรกที่ติดแน่นหน่อย หญิงชาวสยามจะใช้น้ำด่างจากขี้เถ้าไม้แสม (ก็คือน้ำที่ได้จากการนำขี้เถ้าไม้แสมมาต้ม แล้วทิ้งค้างคืนไว้ให้ขี้เถ้าตกตะกอน) มาใช้เป็นน้ำแช่ผ้าเพื่อสลายคราบสกปรกก่อนนำไปทุบหรือขยี้ หลังจากทุบหรือขยี้เสร็จแล้วก็อาจจะมีการนำไปต้มเพื่อขจัดคราบเหงื่อไคลก่อน แล้วจึงนำมาล้างแล้วก็ตากแดดครับ

           คนสยามใช้วิธีเหล่านี้ในการซักผ้ามานาน จนกระทั่งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2470 ได้มีการนำสบู่เข้ามาใช้ในสยามเป็นครั้งแรก ตอนนั้นเป็นที่ฮือฮาเลยทีเดียวค่ะ เพราะพอสบู่เข้ามาในสยามตอนนั้นก็ได้ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยไปหลายๆอย่าง ซึ่งง่ายและสะดวกขึ้นกว่าเดิมมาก  คนไทย(แม้ฝรั่งก็เหอะ) หันมาใช้สบู่ซักผ้ากันทั่วบ้านทั่วเมือง  เรียกว่าเป็นสบู่เอนกประสงค์เลยทีเดียวเชียวล่ะ




            


สบู่(นำเข้า)ในยุคแรกๆของไทย





                                                                                          


ภาพประกอบ   วิธีซักผ้าของชาวอินเดียในอดีต (ปัจจุบันก็ยังมีให้เห็น)

หลังจากที่ชาวสยามใช้สบู่เอนกประสงค์กันได้ไม่นาน ก็มาถึงยุคของผงซักฟอก ซึ่งมีการใช้ในสยามเมื่อปี พ.ศ.2475 โดยยี่ห้อแรกที่มีขายคือ “พรรณอร” ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องกลิ่นที่ฉุนแบบสารเคมีและต้องใช้วิธีต้มนํ้าให้เดือดจึงสามารถนำผ้าลงแช่ได้  และไม่มีขายตามท้องตลาดของไทยนัก  จึงไม่เป็นที่นิยมของคนสยามในยุคนั้นเท่าใด   จากนั้นไม่นานคนสยามก็ได้รู้จักกับผงมหัศจรรย์ชนิดใหม่ที่มีกลิ่นหอม และมีวิธีการซักที่ง่าย เพียงละลายกับน้ำแล้วนำผ้าลงขยี้ และแน่นอน.. ผงมหัศจรรย์ชนิดใหม่ที่ว่ามันจะเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจาก...แฟ๊บ
ครับ  ที่นี้.....คุณๆทั้งหลายคงทราบแล้วว่า  ผงซักฟอกยี่ห้อใดมาก่อน 



    






ใบโฆษณาผงซักฟอกแฟ๊บ เมื่อ พ.ศ. 2504

แฟ้บ” เป็นผงชักฟอกยี่ห้อแรก ๆ ที่เข้ามาจำหน่ายในเมืองไทย (ผลิตในอเมริการาว พ.ศ. 2493)  คนไทยจึงใช้คำว่า “แฟ้บ” เรียกผงซักฟอกทุกชนิด เช่นเดียวกับที่เรียกผ้าอนามัยว่า “โกเต็กซ์” นั่นเอง  
ผงซักฟอก หรือ แฟ้บ ที่เป็นผงซักฟอกยี่ห้อแรกๆ ของประเทศไทย แค่บอกว่าไปซื้อแฟ้บ เราก็จะรู้ทันทีว่าไปซื้อผงซักฟอก ถึงแม้ถุงที่หิ้วกลับมาจะเป็นบรีสก็ตาม
     เอนก นาวิกมูล เล่าไว้ไนหนังสือ เก็บวันนี้ พรุ่งนี้ก็เก่า ว่าคำว่า  FAB  ย่อมาจาก  faster and better ซึ่งหมายความว่า (ซักได้) เร็วกว่าและดีกว่า              

                       




                                                                                             

cr. google และวิกิพีเดีย
----------------------------------


                                                                                               

                                                                                       





























                     


                      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น