คลังบทความของบล็อก

1 มกราคม 2563

โศกนาฎกรรมสังหารหมู่ที่นานกิง 2480

โศกนาฎกรรมสังหารหมู่ที่นานกิง NanJing Massacre 


   เรื่องเริ่มต้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2480 นั้นกองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามาบุกรุกประเทศต่างๆ ในเอเชียเพื่อยึดพื้นที่ให้ได้มากที่สุดและนำทรัพยากรทุกๆด้านจากประเทศที่ยึดได้เอาไปเป็น”ทุน”หรือ”วัตถุดิบ”ในการเติมแสนยานุภาพทางด้านการรบ การสร้างอาวุธ หรือแหล่งพลังงานสำรองด้านอื่นๆ   ญี่ปุ่นบุกเข้ายึดเขตแมนจูเรีย โดยอ้างว่าทหารจีนได้ไปวางระเบิดทางรถไฟของญี่ปุ่น เท่ากับจีนหยามน้ำหน้าญี่ปุ่น ทางประเทศพันธมิตรยุโรปทราบเรื่องนี้แต่ทำอะไรไม่มากนักเนื่องจากเหนื่อยจากสงครามโลกที่ผ่านมา ทำได้เพียงเชิญตัวแทนญี่ปุ่นเข้าพบและสั่งถอนกำลังออก แต่ญี่ปุ่นไม่รับฟัง แมนจูเรียจึงถูกปกครองโดยญี่ปุ่น และเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐแมนจูกัว   นอกจากนั้นญี่ปุ่นยังยึด เกาหลี และประเทศตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย ตลอดจนหมู่เกาะแปซิฟิก ฯลฯและเป้าหมายต่อไปของญี่ปุ่นก็คือจีน   จีนถือว่าเป็นเป้าหมายหลักที่ญี่ปุ่นต้องการมากที่สุดในเอเชีย เนื่องจากมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด ดังนั้นเมืองใหญ่ๆ ทั้งหลายในจีนจึงเป็นเป้าหมายที่ญี่ปุ่นต้องการ    เมืองใหญ่น้อยทั่วจีนที่เป็นเป้าหมายของญี่ปุ่นถูกปราบลงราบคาบไม่มีการต่อต้านจากจีนใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนนานกิงเมืองหลวงในปี 2480 นั้นยังไม่ถูกญี่ปุ่นยึด


                        



   
จนกระทั่งเดือน ก.ย 2482 กองทัพญี่ปุ่นส่งเครื่องบินรบ  ทิ้งระเบิดถล่มทั่วนานกิงแบบปูพรม ถึง 100 เที่ยว โดยเฉพาะวันที่ 19 ก.ย 2482 นั้น  ฝูงบินญี่ปุ่นทิ้งระเบิดปูพรมถึง 5 เที่ยวใหญ่ปล่อยตรงจุดที่มีผู้คนหนาแน่น เช่น หน่วยรักษาคนเจ็บ ค่ายผู้อพยพ ส่งผลให้มีคนตายในที่เกิดเหตุทันทีกว่าร้อยศพ มีคนบาดเจ็บนับไม่ถ้วน สถานีวิทยุ การประปา แม้แต่โรงพยาบาล ถูกกองทัพญี่ปุ่นทิ้งระเบิดใส่จนพังพินาศ ทำให้นานกิงถูกตัดขาดโลกภายนอกโดยเด็ดขาด   วันที่ 20 พ.ย รัฐบาลก๊กมินตั๋ง ประกาศย้ายเมืองหลวงไปยังชองกิง ในขณะเดียวกันนานกิงนั้นก็ระส่ำระสายแทบควบคุมสถานการณ์ไม่อยู่   บรรดาราชการคนชั้นสูง คนรวย ต่างหนีออกจากเมือง โดยปล่อยพวกชาวบ้านนานกิงจนๆ ผู้อพยพ และบรรดาพ่อค้าที่ห่วงข้าวของ  รอรับชะตากรรมกันเอาเอง


  








  เมืองนานกิงก่อนทหารญี่ปุ่นบุก มีประชากรราวหนึ่งล้านคน ส่วนใหญ่ยังไม่หนีไปไหน แต่หาที่ซ่อนตัวไม่ไกลนัก เพราะทุกคนต่างหวังว่าทหารก๊กมินตั๋งจะมาช่วย   แต่พวกเขาคิดผิดมหันต์!   เพราะคณะกรรมาธิการนานาชาติได้ตั้งให้นานกิงเป็นเขตปลอดภัย หรือเซฟตี้โซน โดยไม่จำเป็นต้องให้ส่งทหารมาดูแลโดยรับความเห็นชอบจากรัฐบาลก๊กมินตั๋ง ความหวังสุดท้ายของชาวนานกิงจึงริบหรี่   ปลายเดือนพ.ย ทหารญี่ปุ่นสามกองทัพดาหน้าเข้าหานานกิง ทัพหนึ่งมุ่งตะวันตกทางฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำแยงซี ทหารกองนี้เข้ามาทางแม่น้ำไป๋เหมา ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเซี่ยงไฮ้ โดยเดินทัพมาทางรถไฟสายนานกิง-เซี่ยงไฮ้     ทัพที่สองเตรียมตัวบุกจู่โจมนานกิงทั้งทางน้ำและทางบกอยู่ที่ทะเลสาบอ้ายหู ทัพนี้เคลื่อนจากเซี่ยงไฮ้ลงมาทางตะวันตก และเดินทัพอยู่ทางทิศใต้ของทัพของนาคาจิมา โดยผู้นำทัพนี้คือ พลเอกมัตสึอิ อิวาเน

   




กองทัพญี่ปุ่น


ความสับสนทวีมากขึ้นเมื่อญี่ปุ่นยึดนานกิง ประชาชนนานกิงจำนวนมากยังคงหลบที่ร้านค้าและบริษัทเพื่อทำหน้าที่ปกป้องทรัพย์สินตัวเอง ทำให้ถนนหนทางแทบจะเป็นถนนร้างเพราะผู้คนพากันหลบหนีไม่ออกมาเดินให้เห็นบนถนน  ขณะเดียวกัน ก็มีผู้อพยพมาจากส่วนนอกตัวเมืองที่ยังละล้าละลัง ซึ่งมีทั้งทหารจีนที่ได้รับบาดเจ็บ


รวมทั้งคนแก่ และ เด็กๆ ที่ทะลักเช้ามาสู่ตัวเมืองเป็นจำนวนมาก เหตุที่พวกเขาเข้ามาในตัวเมืองกันก็เนื่องจากได้รับข่าวว่าตอนนี้นานกิง เป็นเขตปลอดภัย ตามประกาศของรัฐบาล    แต่ภายหลังผู้อพยพเหล่านี้ไม่สามารถหนีออกจากเมืองได้เพราะทหารก๊กมินตั๋งปิดประตูด่านต่างๆ    เพื่อสกัดการบุกทหารญี่ปุ่น ดังนั้น บรรดาทหารที่ได้รับบาดเจ็บ และผู้อพยพ คนแก่ เด็กๆ ทั้งหลายตกอยู่สภาพสิ้นหวัง ช่วยตัวเองไม่ได้ ทางเดียวที่จะพอทำได้ในตอนนี้คือหลบภัยจากญี่ปุ่นภายในบริเวณรอบๆเท่านั้น ดังนั้นพวกเขาจึงตกเป็นเหยื่อการสังหารโหดของทหารญี่ปุ่นในเวลาต่อมา   






และด้วยความที่มีเชลยศึกในเมืองนานกิง มากกว่า จำนวนทหารญี่ปุ่น จึงทำให้การควบคุมดูแลเป็นไปได้ยาก ทางกองกำลังญี่ปุ่นจึงมีนโยบาย ให้กวาดล้างเชลยศึกและประชากรในเมืองนานกิง ให้ได้มากที่สุด เพื่อลดจำนวนในการที่ต้องดูแล ทั้งการให้อาหาร ที่พัก  ดังนั้น....ปฎิบัติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จึงเริ่มขึ้น  แต่ด้วยความที่เชลยนั้นมีมาก การที่ต้องกำจัดเชลยให้ได้ทีละมาก ๆ   จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ฝ่ายทหารญี่ปุ่นได้ใช้หลาย ๆ วิธีในการ

กำจัดเชลย ไม่ว่าจะเป็นการยิงทิ้ง ตัดคอ ผ่าท้องเชลย ตัดแขน ตัดขา เนื่องด้วยทหารญี่ปุ่นต้องการกำจัดเชลยให้ได้ถึงวันละไม่ตํ่ากว่า 2,000 คน  ทหารญี่ปุ่นไม่มีการแยกเชลยศึก ไม่ว่าจะเป็น ทหาร หรือ ประชาชน เพราะทุกคนต้องถูกฆ่าเหมือนกันหมด บ้างใช้เชลยศึกเป็นที่ฝึกให้เหล่าทหารใหม่ ใช้ดาบปลายปืนแทง   ใช้ซ้อมยิงเป้าใช้ดาบซามูไรตัดคอ  ใช้น้ำมันราดจุดไฟเผา ใช้ปืนกลกราดยิง หรือ บังคับให้ยืนเรียงแถวหน้ากระดานหน้าหลุม จากนั้นตัดคอแถวแรกแล้วให้แถวที่สองผลักลงหลุม แล้วแถวที่สองก็มายืนหน้าหลุมแทน  







      คนจีนกำลังถูกฝังทั้งเป็น



   
                                               
และด้วยความที่มีเชลยศึกในเมืองนานกิง มากกว่า จำนวนทหารญี่ปุ่น จึงทำให้การควบคุมดูแลเป็นไปได้ยาก ทางกองกำลังญี่ปุ่นจึงมีนโยบาย ให้กวาดล้างเชลยศึกและประชากรในเมืองนานกิง ให้ได้มากที่สุด เพื่อลดจำนวนในการที่ต้องดูแล ทั้งการให้อาหาร ที่พัก  ดังนั้น....ปฎิบัติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จึงเริ่มขึ้น  แต่ด้วยความที่เชลยนั้นมีมาก การที่ต้องกำจัดเชลยให้ได้ทีละมาก ๆ   จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ฝ่ายทหารญี่ปุ่นได้ใช้หลาย ๆ วิธีในการ



กำจัดเชลย ไม่ว่าจะเป็นการยิงทิ้ง ตัดคอ ผ่าท้องเชลย ตัดแขน ตัดขา เนื่องด้วยทหารญี่ปุ่นต้องการกำจัดเชลยให้ได้ถึงวันละไม่ตํ่ากว่า 2,000 คน  ทหารญี่ปุ่นไม่มีการแยกเชลยศึก ไม่ว่าจะเป็น ทหาร หรือ ประชาชน เพราะทุกคนต้องถูกฆ่าเหมือนกันหมด บ้างใช้เชลยศึกเป็นที่ฝึกให้เหล่าทหารใหม่ ใช้ดาบปลายปืนแทง   ใช้ซ้อมยิงเป้าใช้ดาบซามูไรตัดคอ  ใช้น้ำมันราดจุดไฟเผา ใช้ปืนกลกราดยิง หรือ บังคับให้ยืนเรียงแถวหน้ากระดานหน้าหลุม จากนั้นตัดคอแถวแรกแล้วให้แถวที่สองผลักลงหลุม แล้วแถวที่สองก็มายืนหน้าหลุมแทน  









สภาพศพของเด็กๆที่ถูกฆ่าโดยทหารญี่ปุ่น






สาเหตุหลักของการสังหารหมู่ชาวนานกิงคือ “เชือดไก่ให้ลิงดู” ญี่ปุ่นต้องการให้หลายๆ เมืองที่ทราบข่าว จะได้หวาดกลัวและไม่กล้าต่อต้าน เพื่อที่จะสามารถยึดจีนได้โดยง่าย ประกอบกับเป็นการตัดปัญหาเรื่องเสบียงอาหารที่จะต้องใช้ดูแลชาวนานกิงที่เป็นเชลยเหล่านี้   โดยมีชาวนานกิงเสียชีวิตราว 40,000-300,000 คน





ศพแม่กอดลูกเล็กไว้ในอก ขณะถูกตัดคอ











สภาพคนจีนที่ถูกทหารญี่ปุ่น เฉือนเนื้อ




ได้รับการสร้างเป็นภาพยนต์ เวอร์ชั่นจีน 



ตัวอย่างภาพยนต์เวอร์ชั่นจีนสร้าง  (แนะนำให้ดูเวอร์ชั่นนี้ครับ)






ขอขอบคุณภาพและข้อมูลบางส่วนจาก วิกิพีเดีย , postjunk  ,pantip.com 
            

--------------------------------------
                                                                             
                                                                                        



        

































  





















      

     
   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น