ในปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราชได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ทรงจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศสยาม พระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษี สว่างวงศ์ฯ ทรงเตรียมการจัดตั้งการไปรษณีย์ตามแบบอย่างในต่างประเทศ และทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ฯ ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์เป็นพระองค์แรก และได้เปิดรับฝากส่งหนังสือ(จดหมาย)ในเขตพระนครและธนบุรีเป็นการทดลองเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ที่ทำการแห่งแรกตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปากคลองโอ่งอ่าง เรียกว่า "ไปรษณียาคาร"
ในปี พ.ศ. 2429 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับโอนกิจการโทรศัพท์จากกระทรวงกลาโหมมาดำเนินการ และขยายบริการ เปิดให้ประชาชนได้เช่าใช้เครื่องโทรศัพท์ภายในกรุงเทพและธนบุรี เป็นครั้งแรก
ใน ปี พ.ศ. 2441 ได้ทรงให้รวมกรมโทรเลขซึ่งได้ก่อตั้งมาก่อนหน้านี้เข้ากับกรมไปรษณีย์ ใช้ชื่อใหม่ว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข" ดำเนินกิจการไปรษณีย์และโทรเลขและได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนเจริญกรุง กรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น ดำเนินกิจการหลัก ๆ อยู่ 3 กิจการ คือ กิจการไปรษณีย์ กิจการโทรเลข กิจการโทรศัพท์
ในปี พ.ศ. 2472 ได้รับโอนคลังออมสินจากกรมพระคลังมหาสมบัติ มาดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชนเมื่อ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2472
ในปี พ.ศ. 2489 ได้แยกกองคลังออมสินออกจากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาจัดตั้งเป็นธนาคารออมสิน มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ และเปิดดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชนตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2490 เป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. 2497 ได้โอนกิจการโทรศัพท์กรุงเทพฯและธนบุรีให้องค์การโทรศัพท์แห่งประทศไทย
ในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการจัดตั้ง การสื่อสารแห่งประทศไทย โดย พรบ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยรับมอบกิจการด้านปฏิบัติการและกิจการให้บริการไปรษณีย์จากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาดำเนินการ เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2520 และได้ปรับปรุงพัฒนาบริการมาตลอด
ในปี พ.ศ. 2546 ได้แปรสภาพเป็น บริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 ใช้ชื่อใหม่ว่า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ตามนโยบายของรัฐบาล แต่ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่เหมือนเดิม และได้เปลี่ยนมาสังกัดกระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสารและได้พัฒนาปรับปรุงบริการโดยนำระบบเทคโนโลยี่สารสนเทศมาใช้ในการให้บริการและยังได้พัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ในปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราชได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ทรงจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศสยาม พระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษี สว่างวงศ์ฯ ทรงเตรียมการจัดตั้งการไปรษณีย์ตามแบบอย่างในต่างประเทศ และทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ฯ ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์เป็นพระองค์แรก และได้เปิดรับฝากส่งหนังสือ(จดหมาย)ในเขตพระนครและธนบุรีเป็นการทดลองเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ที่ทำการแห่งแรกตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปากคลองโอ่งอ่าง เรียกว่า "ไปรษณียาคาร"
ในปี พ.ศ. 2429 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับโอนกิจการโทรศัพท์จากกระทรวงกลาโหมมาดำเนินการ และขยายบริการ เปิดให้ประชาชนได้เช่าใช้เครื่องโทรศัพท์ภายในกรุงเทพและธนบุรี เป็นครั้งแรก
ใน ปี พ.ศ. 2441 ได้ทรงให้รวมกรมโทรเลขซึ่งได้ก่อตั้งมาก่อนหน้านี้เข้ากับกรมไปรษณีย์ ใช้ชื่อใหม่ว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข" ดำเนินกิจการไปรษณีย์และโทรเลขและได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนเจริญกรุง กรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น ดำเนินกิจการหลัก ๆ อยู่ 3 กิจการ คือ กิจการไปรษณีย์ กิจการโทรเลข กิจการโทรศัพท์
ในปี พ.ศ. 2472 ได้รับโอนคลังออมสินจากกรมพระคลังมหาสมบัติ มาดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชนเมื่อ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2472
ในปี พ.ศ. 2489 ได้แยกกองคลังออมสินออกจากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาจัดตั้งเป็นธนาคารออมสิน มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ และเปิดดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชนตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2490 เป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. 2497 ได้โอนกิจการโทรศัพท์กรุงเทพฯและธนบุรีให้องค์การโทรศัพท์แห่งประทศไทย
ในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการจัดตั้ง การสื่อสารแห่งประทศไทย โดย พรบ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยรับมอบกิจการด้านปฏิบัติการและกิจการให้บริการไปรษณีย์จากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาดำเนินการ เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2520 และได้ปรับปรุงพัฒนาบริการมาตลอด
ในปี พ.ศ. 2546 ได้แปรสภาพเป็น บริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 ใช้ชื่อใหม่ว่า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ตามนโยบายของรัฐบาล แต่ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่เหมือนเดิม และได้เปลี่ยนมาสังกัดกระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสารและได้พัฒนาปรับปรุงบริการโดยนำระบบเทคโนโลยี่สารสนเทศมาใช้ในการให้บริการและยังได้พัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
ภาพ บุรุษไปรษณีย์ที่นครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ.2498
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก GotoKnow โดย LiBraRianCSR!!! ใน KM@ไปรษณีย์ไทย
------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น