คลังบทความของบล็อก

1 พฤศจิกายน 2561

6 ตุลาคม 2519: สังหารหมู่นักศึกษากลางธรรมศาสตร์

                 6 ตุลาคม 2519: สังหารหมู่นักศึกษากลางธรรมศาสตร์





 จากเหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ได้ทำให้รัฐบาลเผด็จการทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร พ้นจากอำนาจ และต้องเดินทางออกนอกประเทศพร้อมจอมพลประภาส จารุเสถียร และพ.อ.ณรงค์ กิตติขจร   แต่นับตั้งแต่กลางปี 2518 มีสัญญาณว่าเผด็จการทหารกลุ่มเดิมกำลังวางแผนที่กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้ง และในวันที่ 19 กันยายน 2519 ถนอม ที่ถูกขับไล่ออกนอกประเทศและลี้ภัยอยู่ที่สหรัฐฯ ก็ได้เดินทางกลับประเทศไทยด้วยการบวชเป็นสามเณรเข้ามา โดยอ้างต่อสาธารณชนว่าตนจะอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ มิได้มุ่งแสวงหาอำนาจ และต้องการมาเยี่ยมบิดาที่ใกล้ถึงแก่กรรม   สามเณรถนอมออกจากสนามบินมุ่งตรงไปยังวัดบวรนิเวศวิหารเพื่อเข้ารับการอุปสมบท แต่มวลชนจำนวนมากยังไม่เชื่อว่าสามเณรถนอมปรารถนาความหลุดพ้นจริงๆ (สุดท้ายเขาก็สึกในปีต่อมา ก่อนเรียกร้องให้รัฐบาลคืนทรัพย์สินของเขาที่ถูกยึดไปด้วยข้อหาทุจริต) จึงพากันออกมาประท้วง







แต่นักกิจกรรมถูกตอบโต้กลับอย่างรุนแรง ในวันที่ 24 กันยายน 2 พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคถูกฆ่าแขวนคอขณะออกไปปิดใบประกาศประท้วงการกลับมาของถนอม 


จากนั้นในวันที่ 4 ตุลาคม นักศึกษาได้แสดงละครแขวนคอเพื่อประท้วงการใช้ความรุนแรงซึ่งเชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง และต่อต้านความพยายามใดๆ ที่จะนำพาประเทศกลับสู่ระบบเผด็จการอีกครั้ง


วันต่อมา “ดาวสยาม” หนังสือพิมพ์ฝ่ายขวาได้กล่าวหานักศึกษาที่แสดงละครแขวนคอว่าหมิ่นพระบรมโอรสาธิราช พร้อมด้วยข้อหาล้มสถาบันกษัตริย์ ภาพจากหนังสือพิมพ์ดาวสยาม (ซึ่งมีการถกเถียงกันว่ามีการตกแต่งภาพหรือไม่ และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับอื่นมีส่วนสมคบคิดกับดาวสยามหรือไม่) ถูกนำไปปลุกระดมให้ลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มฝ่ายขวาอื่นๆ เข้าปิดล้อมธรรมศาสตร์ ที่มีนักศึกษานับพันคนชุมนุมประท้วงกันอยู่


วันที่ 6 ตุลาคม คือวันที่เกิดเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยเมื่อกองกำลังติดอาวุธซึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐอย่างตำรวจตระเวณชายแดน และลูกเสือชาวบ้านเป็นแกนนำได้ใช้กำลังเข้าทารุณกรรม และสังหารชีวิตของนักศึกษาอย่างไร้ปราณี ด้วยข้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 46 ราย (บางแหล่งอ้างถึงหลักร้อยราย)


การที่กองกำลังตำรวจตระเวณชายแดนซึ่งมิได้ประจำการอยู่ในกรุงเทพฯ ได้เคลื่อนพลเข้ามากวาดล้างนักศึกษาในครั้งนี้ ทางรัฐบาลของนายเสนีย์ ปราโมช ยืนยันว่ามิได้เป็นผู้ออกคำสั่ง เสนีย์ยังอ้างว่าเขามิได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการสังหารหมู่ โดยกล่าวว่า ทางรัฐบาลสั่งให้เจ้าหน้าที่จับกุมตัวนักศึกษาที่มีส่วนกับการแสดงละครแขวนคอเท่านั้น มิได้สั่งให้ยิงนักศึกษาแต่อย่างใด

เหตุสังหารหมู่ที่เกิดขึ้น กลายเป็นข้ออ้างให้ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ประกาศยึดอำนาจ พร้อมกล่าวประณามนักการเมือง และความไร้ประสิทธิภาพของระบอบประชาธิปไตย
การที่กองกำลังตำรวจตระเวณชายแดนซึ่งมิได้ประจำการอยู่ในกรุงเทพฯ ได้เคลื่อนพลเข้ามากวาดล้างนักศึกษาในครั้งนี้ ทางรัฐบาลของนายเสนีย์ ปราโมช ยืนยันว่ามิได้เป็นผู้ออกคำสั่ง เสนีย์ยังอ้างว่าเขามิได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการสังหารหมู่ โดยกล่าวว่า ทางรัฐบาลสั่งให้เจ้าหน้าที่จับกุมตัวนักศึกษาที่มีส่วนกับการแสดงละครแขวนคอเท่านั้น มิได้สั่งให้ยิงนักศึกษาแต่อย่างใด




พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ 

เหตุสังหารหมู่ที่เกิดขึ้น กลายเป็นข้ออ้างให้ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ประกาศยึดอำนาจ พร้อมกล่าวประณามนักการเมือง และความไร้ประสิทธิภาพของระบอบประชาธิปไตย

“เราตั้งความหวังกับประชาธิปไตยไว้สูงเกินไป คนที่ได้รับมอบอำนาจก็ไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ เราจะใช้โอกาสนี้ทำการปฏิรูปในทุกระดับ จากนั้นเมื่อสถานการณ์เข้าสู่สภาวะสงบเรียบร้อยแล้ว เราจึงจะมอบอำนาจคืนให้กับรัฐบาลพลเรือนอีกครั้ง” สงัด กล่าว (นิวยอร์กไทม์)

หลังยึดอำนาจ คณะรัฐประหารได้แต่งตั้งให้ ธานินทร์ กรัยวิเชียร อดีตผู้พิพากษาเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งในสมัยของเขาได้เริ่มการดำเนิคดีกับนักศึกษา 3,000 คน ที่ถูกจับกุมในธรรมศาสตร์ แต่การพิจารณาคดีกลับกลายเป็นการเปิดเผยให้เห็นความเลวร้ายของฝ่ายรัฐเสียเอง

สุดท้ายรัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ที่เข้ามาแทนที่ ธานินทร์ ตามมติของคณะปฏิวัติก็ได้นิรโทษกรรมให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ทำให้นักศึกษาพ้นจากการดำเนินคดี แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ที่มีส่วนกับความรุนแรงไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับโทษในภายหลังเช่นกัน


ข้อมูลจาก  มติชนสุดสับดาห์ 6 ตุลาคม 2519: วันมหาวิปโยค

อ้างอิงจาก “ความทรงจำ/ความเงียบงันของประวัติศาสตร์บาดแผล ความอิหลักอิเหลื่อเรื่องการสังหารหมู่ 6 ตุลาคม 2519”. ธงชัย วนิจจะกูล. 6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง. ฟ้าเดียวกัน. 2558
“Thai Military Take Power After Police Battle Protesters”. The New York Times. 
ขอบคุณ รูปภาพและข้อมูลจาก  วิกิพีเดีย หนังสือพิมพ์ข่าวสด, เว็บไซต์ pantip.com , google.com










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น